วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ตัวอย่าง สื่อเสียง เพลง My girl












































ที่มาวิธีการลง สื่อเสียง : http://www.zalim-code.com/Audio.htm



สื่อเสียง

มาเรียนรู้เรื่อง สื่อเสียงกันนะคะ

สื่อเสียงหรือสื่อโสต คือสื่อที่ใช้หูในการสัมผัสโดยการรับฟัง เพื่อความเข้าใจ สัมผัสถึงอารมณ์หรือหรือรู้ ถึงจุดมุ่งหมายของการผลิตสื่อนั้น

จากกรวยประสบการณ์ของเดลที่มีการแบ่งสื่อออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการ ในช่วงแรกของศตวรรษที่ 20 การเรียนการสอนมีการใช้เทคโนโลยีเสียงและภาพด้วยวัสดุอุปกรณ์สื่อโสตในการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะสื่อธรรดาและ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น
แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปเสียงและเครื่องแล่นเทป ฯลฯ สือเหล่านี้นับเป็นสื่อแบบดั้งเดิมหรือเรียกว่า สื่อพื้นฐาน และหากเป็นสื่ออิเล็กทรอนกส์จะเป็นสื่อระบบ อนาล็อกในระยะต่อมาด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้มีการใช้ สื่อดิจิทัล แทนสื่อะนาล็อค

เทคโนโลยีและสื่อเสียงในการเรียนการสอน

การสื่อสารอย่างหนึ่งในการเรียนการสอนที่ผู้สอนทุกคนใช้เป็นประจำคือ การบรรยายด้วยเสียงของสอนเองเพื่อให้ผู้เรียนรับรู้เนื้อหาบทเรียน ทั้งนี้เพราะปกติเมื่อมีเสียงใดๆเกิดขึ้นคนเราจะรับเสียงนี้นทำให้อาจเพียงได้ยินเสียงแต่อาจไม่มีการฟัง การฟังจะเกิดขึ้นเมื่อมีกระบวนการของการได้ยินและความเข้าใจใจข้อมูลที่ส่งมา จณะเดียวกันถ้ามีการฟังอย่างตั้งใจจะเป็นการให้ความเอาใจใส่พิจารณาข้อมูลนั้นซึ้งจะเป็นสิ่งเร้าให้เกิดการเรียนรู้

ด้วยเหตุนี้ การใช้เสียงในการเรียนการสอนจึงเป็นทักษะการสื่อสารสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้สอนต้องมีการฝึกฝนเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย สื่อที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในการเรียนการสอนจะมีทั้งสื่อแอนะล็อกและสื่อดิจิทัลดังนี้

- สื่อแอนะล็อก แทปคาสเซ็ตต์ วิทยุ และเครื่องเสียง

- สื่อดิจิทัล แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี เสียงบนอินเทอร์เน็ต และวิทยุอินเทอร์เน็ต

สื่อเสียงระบบแอนะล็อก

สื่อเสียงระบบแอนะล็อกในลักษณะวัสดุและอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันในปัจจถุบันมี 3ประเภทได้แก่ เทปคาสเซ็ตต์ วิทยุ และเครื่องเสียง

เทปคาสเซ็ตต์

เทปคาสเซ็ตต์หรือเทปตลับ เป็นสื่อเสียงที่ใช้กันมานานแล้วเพราะเป็ฯสื่อที่ใช้งานง่าย ประหยัด และค่อนข้องทนทาน

รูปแบบเทปคาสเซ็ตต์ที่นิยมใช้กันมากอย่างหนึ่งจะอยู่ในลักษณะ หนังสือเสียง โดยบันทึกเรื่องราวที่อ่านจากหนังสือหรือเรื่องเล่าบันทึกลงเทป เพื่อให้ผู้ฟังและเรียนรู้จากเรื่องนั้นๆด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังสามารถนำเทปคาสเซ็ตต์มาช้ร่วมกับสื่ออื่นโดยจัดเป็นชุดสื่อประสม เพื่อให้ผู้เรียนนำมาเรียนด้วยตนเองได้โดยสะดวก

วิทยุ

เสียงจากวิทยุเป็นสื่อดั้งเดิมอีกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ในการเรียนการสอน หากเป็นการศึกษาทางไกลจะเป็นการส่งบทเรียนไปยังผู้เรียนที่บ้านเพื่อศึกษาเพิ่มเติมประกอบกับสื่ออื่น

เครื่องเสียง

เครื่องเสียงเป็นอุปกรณ์ที่เป็นสื่อกลางหรือตัวผ่านในการถ่ายทอดเสียงจากคนเราหรือจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆให้มีเสียงดังเพิ่มมากขึ้นเพื่อสามารถได้ยินได้ในระยะไกล

การทำงานของเครื่องเสียง จะมีการรับ การขยาย และการส่งออกเสียงซึ่งเป็นระบบการเพิ่มกำลังความดังของเสียงเพื่อให้ผู้ฟังจำนวนมากได้ยินอย่างชัดเจนทั่วถึง เครื่องเสียงปัจจุบันอาจใช้แบบแยกส่วนการทำงานหรือรวมเป็นชุดเครื่องเสียง ได้แก่

ภาคสัญญาณเข้า เป็ฯภาคที่เปลี่ยนคลื่นเสียงธรรมชาติให้เป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียง แล้วส่งต่อไปยังภาคขยายสัญญาณ อุปกรณ์ในภาคสัญญาณเข้าได้แก่ ไมโครโฟน วิทยุ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นซีดี

ภาคขยายสัญญาณ ทำหน้าที่รับคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียงจากภาคสัญญาณเข้ามาขยายให้มีกำลังแรงมากขึ้นหรือสูงขึ้นโยไม่ผิดเฟี้ยนจากแหล่งกำเนิดเสียงอุปกรณ์ในภาคขยายสัญญาณได้แก่ เครื่องขยายเสียงประเภทต่างๆ

ภาคสัญญาณออก ทำหน้าที่รับคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียงที่ได้รับการขยายแล้วจากภาคขยายสัญญาณ แล้วเปลี่ยนเป็นคลื่นเสียงธรรมชาติโดยมีคุณลักษณะเหมือนต้นกำเหิดเสียงทุกประการ อุปกรณ์ในภาคสัญญาณออก ได้แก่ ลำโพงชนิดต่างๆ

สื่อเสียงระบบดิจิทัล

สื่อเสียงระบบดิจิทัลที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนทั้งวัสดุและอุปกรณ์ได้แก่ แผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี เสียงจากอินเตอร์เน็ต และวิทยุอินเตอร์เน็ต

แผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี

แผ่นซีดีและแผ่นดีวีดีเป็นสื่อแสง ที่บันทึกข้อมูลได้ทุกประเภท ปกติแล้วซีดีแผ่นหนึ่งจะบันทึกเสียงตามรูปแบบไฟล์มาตราฐานนาน 74 นาที 33 วินาที่เสียงที่ได้จะมีความคมชัดมากกว่าเสียงระบบแอนาล็อก การใช้แผ่นซีดี/ดีวีดีสามารถค้นหาเพื่อเล่นเสียงตอนใดก็ได้โดยไม่ต้องเสียเวลากรอเทปเหมือนการเล่นเทป

เสียงบนอินเตอร์เน็ต

เสียงระบบดิจิทัลนอกจากบึนทึกลงแผ่นซีดี/ดีวีดีแล้ว ยังส่งผ่านไปบนอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร โดยการดาวน์โหลดคลิปเสียงและบันทึกลงฮาร์ดดิสก์หรือแผ่นซีดีเพื่อใช้ประกอบเนื้อหาบทเรียน และสามารถบันทึกเสียงผู้สอนในลักษณะการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อบรรยายเนื้อหาประกอบบนเรียนบนเว็บไซต์ได้ รวมถึงการให้ผู้เรียนดาวโหลดไฟล์เสียงการสอนและแนบไฟล์เสียงไปกับอีเมล์ส่งไปยังผู้เรียนได้เพื่อเปิดฟังในเวลาที่ต้องการ

วิทยุอินเทอร์เน็ต

เสียงระบบดิจิทัลเมื่อนำมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยี steeaming จะทำให้การดาวน์โหลดและฟังเสียงบนอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ด้วยเทคโนโลยีนี้จึงทำให้มีการจัดตั้งสถานีวิทยุบนอินเทอร์เน็ตและใช้งานในลักษณะวิทยุอินเตอร์เน็ต เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทุกประเภททั้งรายการสดและที่บันทึกไว้แล้ว ผู้ฟังวิทยุบนอินเทอร์เน็ตต้องใช้โปรแกรมเฉพาะ เช่น Window Media Player และ Realone Player ที่ดาวน์โหลดได้จากอินเตอร์เน็ต

ที่มาhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=mhajoy&month=01-2008&date=10&group=2&gblog=6

วิธีการโพสสื่อเสียงลงในบล็อกส่วนตัว

1.เข้าไปที่ http://www.ijig.com/

http://www.4share.com/

หรือ เว็ปไซด์ที่มี Code music online เว็ปไซด์ใดก็ได้

2. นำ Code เพลงที่ได้ใส่ลงไปในบล็อค หากต้องการสกินที่สวยงาม ให้หา Code สกินที่ต้องการ มารวมกับ Code ของเพลง

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การผลิตสื่อการสอน


การผลิตสื่อการสอน

1. สำรวจความต้องการ การผลิตสื่อเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง จะต้องสำรวจความต้องการของผู้ใช้ ความต้องการของผู้ใช้อาจจะได้มาจากการแสดงความต้องการของผู้ใช้โดยตรง หรือจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสำรวจ
2. กำหนดเป้าหมายการผลิต เมื่อทราบความต้องการของผู้ใช้แล้ว ก็จะนำเอาความต้องการมาประเมิน จัดลำดับความสำคัญ แล้วกำหนดเป้าหมายการผลิต
3. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายย่อมมีความแตกต่างกันในด้านคุณลักษณะบางประการ ผู้ผลิตจะต้องศึกษาแนวโน้มความแตกต่างของกลุ่มในด้านต่าง ๆ
4. กำหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม การกำหนดจุดมุ่งหมายการผลิตสื่อ ควรกำหนดเป็นจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมเพื่อให้สามารถตรวจสอบผลได้
5. วิเคราะห์และจัดทำเนื้อหา โดยนำเนื้อหาที่จะผลิตสื่อมาวิเคราะห์หาความเหมาะสมในการจัดรูปแบบการนำเสนอและจัดลำดับเรื่องราว
6. เลือกประเภทสื่อที่จะผลิต เนื้อหาหนึ่ง ๆ อาจผลิตสื่อได้หลายประเภท ในการตัดสินใจว่าจะผลิตเป็นสื่อประเภทใดนั้น จะต้องนำมาพิจารณาหาความเหมาะสมอย่างรอบคอบ โดยพิจารณาองค์ประกอบเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการผลิต ลักษณะของเนื้อหา ขีดความสามารถในการผลิตของหน่วยงานผลิตหรือผู้ผลิต เป็นต้น
7. ผลิตสื่อ กระบวนการผลิตสื่อจะต้องแตกต่างกันไปตามประเภทของสื่อ เช่น สื่อประเภทเรื่องราวต่อเนื่อง ก็จะต้องจัดทำบัตรเรื่อง เขียนบท ถ่ายทำ บันทึกเสียง ถ้าเป็นสื่อประเภทวัสดุสามิติ ก็ต้องเขียนโครงร่างการออกแบบ ทำพิมพ์เขียวก่อน เป็นต้น
8. ทดลองเบื้องต้น เป็นการทดลองเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องเบื้องต้น เช่น ภาษา ขนาด สัดส่วน และคุณภาพทางเทคนิคอื่น ๆ เป็นต้น อาจทำเป็นขั้นตอนย่อย ๆ เป็นต้นว่า ทดลอง 1 คน 3 คน 6 คน
9. ทดลองภาคสนาม เป็นการนำสื่อไปทดลองกับกลุ่มผู้เรียนจริง แล้วเก็บรวบรวมข้อมูล ประสิทธิภาพของสื่อนั้น ๆ เพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ดี ก่อนการนำออกไปใช้จริง
10. การนำไปใช้และปรับปรุง การนำสื่อที่ผ่านการทดลองภาคสนามแล้วไปใช้อาจจะยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง เมื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน จึงควรแก้ไขปรับปรุงเป็นระยะ

สื่อการสอนและประเภทของสื่อการสอน

3.3.1 ความหมายของสื่อการสอน สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี สื่อที่ใช้ในการสอนนี้ อาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น - วัตถุสิ่งของตามธรรมชาติ - ปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ - วัตถุสิ่งของที่คิดประดิษฐ์หรือสร้างขึ้นสำหรับการสอน - คำพูดท่าทาง - วัสดุ และเครื่องมือสื่อสาร - กิจกรรมหรือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ

3.3.2 ประเภทของสื่อการสอน ในทางเทคโนโลยีการศึกษา สามารถจำแนกประเภท ของสื่อการสอน ได้ดังนี้
1) เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware) ได้แก่ สื่อประเภทที่ใช้กลไกทาง อิเล็กทรอนิกส์ และไฟฟ้า เช่น เครื่องฉาย เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2) วัสดุ (Software) ได้แก่ สื่อประเภทที่มีลักษณะ ดังนี้ - ใช้ควบคู่กับเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น ฟิล์ม แผ่นโปร่งใส สไลด์ เทป ฯลฯ - ใช้ตามลำพังของตนเอง เช่น กระดาษ รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก หนังสือ ฯลฯ 3) วิธีการ (Techniques or Methods) ได้แก่ กระบวนการหรือกรรมวิธี ซึ่งใน บางครั้ง อาจต้องใช้วัสดุ และเครื่องมือประกอบกัน เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ได้แก่ การแสดงละคร การเชิดหุ่น การสาธิต การศึกษานอกสถานที่ การจัดนิทรรศการ การใช้คอมพิวเตอร์ ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น

เอ็ดการ์ เดล ได้จำแนกสื่อประเภทของสื่อการสอน โดยแบ่งตามประสบการณ์การเรียนของผู้เรียน จากรูปธรรม นามธรรม และจัดประเภทของสื่อการสอน ตามลำดับของการเกิดประสบการณ์ ในรูปสามเหลี่ยมที่เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience) ดังนี้ (ดูส่วนขยายโดยนำเมาส์ชี้ที่ตัวหนังสือของแต่ละชั้น)

pic.JPG (601×481)



สื่อการสอนแบบวีดีทัศน์

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สื่อกราฟิก


กราฟิก (Graphics) เป็นคำที่มาจากศัพท์ในภาษากรีกว่า “Graphein”
ซึ่งหมายถึงการเขียนตัวหนังสือและการสื่อสารความหมายโดยการใช้เส้นแล้วความหมายของกราฟิก
จึงหมายถึง สื่อที่มุ่งแสดงความจริงหรือแสดงความคิดให้เกิดเป็นมโนภาพที่ชัดเจน โดยใช้วิธีวาดรูปและเขียนตัวอักษร ซึ่งอาจจะออกมาในรูปของแผนภาพ แผนภูมิ แผนสถิติ หัวเรื่อง การ์ตูน การ์ตูนเรื่อง สัญลักษณ์ ตลอดจนภาพถ่ายที่นำมาใช้เพื่อสื่อความหมายในเรื่องที่แสดงข้อเท็จจริงต่างๆความหมายของกราฟิกดังกล่าวจะเห็นว่ากลวิธีสร้างการนำเสนอบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนส่วนใหญ่จะสื่อความหมายและนำเสนอเนื้อหาด้านกราฟิกเสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะสื่อกราฟิกจะเป็นสื่อที่จะเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ที่ใช้สร้างการมองเห็นการสร้างการดึงดูดความสนใจ ตลอดจนสามารถนำเอามาใช้อธิบายเนื้อหาที่ซับซ้อนได้


ตัวอย่างโฆษณาที่ใช้สื่อกราฟิกในการสื่อความสามารถสินค้า

สื่อภาพเคลื่อนไหว (Digital Movies)ภาพเคลื่อนไหวนี้สามารถใช้สัญลักษณ์ภาพ
จากเทปวิดีโอทั่วไปซึ่งผ่านการถ่ายทำตามแบบแผนที่ได้ออกแบบเอาไว้ แล้วนำภาพมาแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิตอล ส่วนภาพเคลื่อนไหว (Animation) สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ประเภทกราฟิกสามมิติ เช่น 3DS MAX , MAYA , Adobe Promium , Adobe After Effect
ทุกสิ่งที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนั้นล้วนแต่เป็นสื่อกราฟิกทั้งสิ้น
ดังนั้นสื่อกราฟิก หมายถึง การใช้การออกแบบทางศิลปกรรมศาสตร์เป็นสื่อกลางในการ
ช่วยให้ได้รายละเอียดชัดเจนของสิ่งที่ต้องการจะสื่อสารออกไปได้ดีที่สุด
เพราะ สื่อทางกราฟิกสามารถแสดงถึงอารมที่ผู้สื่อต้องการจะถ่ายทอดออกไปได้เกือบทั้งหมดทั้งภาพ
ทั้งเสียง ทั้งอารมณ์
โดยมีSoftwareหลายชนิด และเครื่องมือหลากหลายมากที่จะช่วยทำให้สื่อกราฟฟิก
ยกตัวอย่างเช่น
Adobe Photoshop Adobe Premiere Adobe Flash
ตกแต่งภาพกราฟิกที่ใครรู้จักดี^^ สร้าง&ตกแต่งวีดีโอ สร้างงานAnimation

3DS MAX
ตัวแม่ในงาน 3D Animation
ตัวอย่าง Website ที่ใช้สื่อกราฟิก
Photoshop.com
Hardcoregraphic
เว็บ Hardcoregraphic เว็บในดวงใจของใครหลายๆคนที่หลงไหลในสื่อกราฟิก
computerarts
เว็บต้นขั้ว idea สำหรับบทความนี้ และกล่องIdeaสำหรับผู้ผลิตสื่อกราฟิกหลายๆคน
thai3d
ชุมนุมสำหรับคนที่หลงไหล สื่อกราฟสิกประเภท 3D
designparty
ข่าวสาร บทความ ให้ความรู้ เรื่อง สื่อกราฟฟิก หลากหลาย
thaigraph
เว็บคนไทย สอนตกแต่งภาพ ด้วย Photoshop ที่ยอดเยี่ยมที่สุด
websiteข้างต้นนี้นี้คงเป็นเส้นทางสำหรับใครหลายๆคนที่กำลังสนใจสื่อกราฟิกได้เป็นอย่างดี

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Microsoft Surface Computer


สะท้านวงการComputer Graphic และ Multimedia กับ Microsoft Surface Computer
Surface computer เนรมิตโต๊ะ 30 นิ้วธรรมดาให้กลายเป็นแหล่งบันเทิงของผู้ใช้ ที่สามารถสื่อสารกับข้อมูลดิจิตอลทุกชนิดผ่านการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติและยังสามารถสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล กับเครื่องมือดิจิตอลต่างๆ เช่นเพียงผู้ใช้วางกล้องและโทรศัพท์มือถือไว้บนโต๊ะเจ้าโต๊ะตัวนี้ก็จะสามารถ ถ่ายโอนข้อมูลภาพและเสียงจากกล้องดิจิตอลของคุณ ไปยังมือถือของคุณ โดยโต๊ะจะดึงภาพออกจากกล้องมาอยู่ที่หน้าจอโต๊ะโดยอัตโนมัติ แล้วคุณก็เพียงลากภาพต่างๆไปสู่มือถือของคุณ ผู้ใช้สามารถย่อขยาย เคลื่อนย้ายภาพต่างๆได้ตามต้องการเพียงปลายนิ้วสัมผัสคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ผู้บริโภคจะสามารถใช้ Surface computer นี้ได้ในโรงแรม ร้านอาหาร ห้างร้านและสถานบันเทิงต่างๆ

ลักษณะที่สำคัญของ Surface computer มีดังต่อไปนี้:Direct interaction ผู้ใช้สามารถดึงข้อมูลดิจิตอลต่างๆ โดยใช้มือสัมผัส และการเคลื่อนไหวต่างๆ โดยไม่ต้องใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด

Multi-touch Surface computer สามารถจับการสัมผัสต่างๆ พร้อมกันได้ ไม่ใช่เพียงแค่นิ้วสัมผัสในจุดๆ เดียวเหมือนtouch-screen ทั่วไป แต่สามารถตอบสนองคำสั่งโดยการสัมผัสได้มากกว่าสิบจุดพร้อมๆกันMulti-user ด้วยดีไซน์ของ Surface computer ทำให้ตอบสนองการใช้คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มได้ โดยผู้ใช้สามารถนั่งล้อมวงกัน รอบคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และยังสนุกสนานอีกด้วยObject recognition ผู้ใช้สามารถนำอุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆมาวางไว้บนโต๊ะเพื่ออ่านหรือโอนข้อมูลดิจิตอลไปยังอุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ

จากภาพข้างบนด้วยความสามารถของ Multitouch มันทำได่อย่างไร
แนวคิดแบบง่ายๆคือการฉาย Infrared ลงบนจอแล้วใช้กล้องวิดีโอจับภาพนิ้วมือของเรา
เพราะในขณะที่นิ้วมือของเราสัมผัสกับจอกล้องที่จับภาพจะเห็นเป็นจุดๆๆ
ซึ่งเราจะนำภาพที่ได้นั้นมาผ่านกระบวนการ Imageprocessing
ดังนั้นการจับภาพนิ่วหลายๆจุดจึงไม่เป็นปัญหาของเจ้าSurface Computerเครื่องนี้ได้อย่างแน่นอน

Reference : http://www.youtube.com/

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ทำดีหวังผล

สัปดาห์ที่ 10 บันทึกแนวคิดการสื่อสาร

ความหมายของการสื่อสาร

- เป็นกระบวนการถ่ายทอด / การแลกเปลี่ยนเรื่องราวความต้องการ ความคิด ความรู้สึกระหว่างผู้ส่ง - ผู้รับ

ผ่านสื่อช่องทาง

- ระบบเพื่อการติดต่อรับส่งช้อมูลซึ่งกันและกัน


หลักและทฤษฎีการสื่อสาร


บทวิเคราะห์ การประยุกต์ใช้แบบจำลองพื้นฐานการสื่อสาร ภายใต้บริบทและโครงสร้างของระบบบุญนิยม
สู่ดิน ชาวหินฟ้าบริหารการสื่อสาร มหาวิทยาลัยเกริก
บทนำ
แบบจำลองพื้นฐานการสื่อสาร เป็นแบบแผนที่ใช้อธิบายการสื่อสารของมนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งของหลักนิเทศศาสตร์ ที่นักวิชาการทางนิเทศศาสตร์นำมาวิเคราะห์หาประเด็นต่างๆ ที่สามารถอธิบายได้ว่า การสื่อสารมีพฤติกรรม มีกระบวนการอย่างไร ผลของการสื่อสารที่เกิดขึ้น สามารถนำมาจำแนกได้กี่ประเภท หรือมีลักษณะเด่นอย่างไร เพื่อนำไปเป็นกรอบคำอธิบาย หรือพิสูจน์ให้เห็นจริงในงานวิจัยทางนิเทศศาสตร์
ปัจจุบัน การสื่อสารมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนา เพื่อให้เกิดอัตราการก้าวหน้าทั้งในระดับจุลภาค และระดับมหภาค การสื่อสารได้ถูกนำไปใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการพัฒนาระบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา มีคำถามที่น่าคิดว่า การสื่อสารเป็นผู้ถูกกระทำ (ในฐานะอุปกรณ์ เครื่องมือ) หรือเป็นผู้กระทำการ (ความคาดหวัง หรือ ผลที่ได้รับ) เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองการสื่อสาร ที่นักคิดชาติต่างๆ กล่าวไว้ สามารถนำมาอธิบายกระบวนการสื่อสารบุญนิยมได้อย่างไร
ขอบเขตการวิเคราะห์ของบทความ บทที่ 1 หลักและทฤษฎีการสื่อสาร จะกล่าวถึง พฤติกรรมการสื่อสาร สาเหตุแห่งพฤติกรรมการสื่อสาร กระบวนการสื่อสาร ลักษณะและประเภทของการสื่อสาร และผลของการสื่อสาร บทที่ 2 การสื่อสารบุญนิยม กล่าวถึงปรัชญา แนวคิด และอุดมการณ์ของระบบบุญนิยม บทนี้จะอธิบายสนับสนุนผลของการสื่อสาร ที่เกิดขึ้นจากการประยุกต์ใช้แบบจำลองพื้นฐานการสื่อสารในระบบบุญนิยม เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับ ความหมาย พฤติกรรม กระบวนการ และความคาดหวัง ของการสื่อสารบุญนิยม ว่ามีผลอย่างไรต่อสังคม
บทความนี้ มีความมุ่งหวังที่จะใช้กระบวนการสื่อสารที่มีอยู่ ในฐานะเป็นทั้งเครื่องมือ (Implement) และเป็นผู้กระทำ หรือผลของการสื่อสาร (Result) มาเป็นสมมุติฐานการแก้ไขปัญหาทางสังคม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้หลักการและแนววิธีของบุญนิยม

บทที่ 1 หลักและทฤษฎีการสื่อสาร

คำจำกัดความ
“การสื่อสาร คือ กระบวนการที่ผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีปฏิสัมพันธ์กัน ในสภาพแวดล้อมทางสังคมเฉพาะ” (จอร์จ เกิร์บเนอร์)
การสื่อสาร คือ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นปฏิสัมพันธ์กัน ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารหมายความว่า
1. การสื่อสาร อย่างน้อยจะต้องมีองค์ประกอบต่อไปนี้ จึงจะเรียกว่า “การสื่อสาร”(1) ผู้ส่งสาร หรือผู้กำหนดสาร (Sender, Source Creator) (2) สาร (Message, Information)(3) สื่อ หรือช่องทางในการนำสาร ส่งไป (Channel)(4) ผู้รับสาร (Receiver)(5) ผลการสื่อสาร (Feed back)
2. การสื่อสาร เป็นกระบวนการ ซึ่งประกอบด้วย(1) การกำหนดสาร (Message Design & Source Data)(2) การส่งสารไปยังผู้รับ (Process Sending)(3) สารถึงผู้รับ และผู้รับก็รับรู้ถึงสารที่ส่งมานั้น (Awareness)
โดยปกติ ผู้ส่งสาร และผู้รับสาร จะประกอบด้วยบุคคล 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้ส่งสาร และฝ่ายผู้รับสาร หากผู้ส่งสาร และผู้รับสารเป็นบุคคลคนเดียวกัน เรียกว่า การสื่อสารภายในบุคคล และผู้ส่งสารมักจะเป็นผู้กำหนดสารที่จะส่งไป
สารที่จะส่งไป มักจะถูกกำหนดขึ้นทั้งจากผู้ส่งสารเอง และจากบุคคลอื่น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของวจนภาษา หรือ อวจนภาษา ก็ตาม
กรณีที่ผู้กำหนดสาร และผู้ส่งสาร เป็นบุคคลคนเดียวกัน คือ สารที่ถูกกำหนดขึ้นนั้น เป็นนามธรรมที่เกิดขึ้น (Knowledge) หรือปรุงแต่งขึ้นเป็นองค์ความรู้ (Create) หรือผุดขึ้นโดยประจักษ์ (Insight) ของผู้ส่งสารนั่นเอง แล้วต้องการจะส่งสารนั้นไปยังกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นผู้รับสาร
กระบวนการส่งสาร จะเริ่มตั้งแต่ การบรรจุสารเข้าไปในระบบการส่ง (Message Input & Sourse Input) ซึ่งประกอบด้วย สาร สื่อ เวลา โอกาส โดยอาศัยช่องทางต่างๆ เป็นพาหะพาสารไปยังผู้รับ (Process) สารที่ส่งไป อาจจะอยู่ในรูปของภาษาพูด สัญลักษณ์ อักขระ สื่อ หรือช่องทางที่ใช้ในการส่ง ขึ้นอยู่กับว่าเนื้อสารนั้นจะอยู่ในรูปใด
รูปแบบ ชนิดของสาร
พาหะ - ช่องทาง
เครื่องมือ - เทคโนโลยี
เทคนิค - รูปแบบการส่งสาร
ภาษาพูดWord, Speech
บรรยากาศ อากาศ วัตถุที่สามารถพาเสียงไปได้
อวัยวะปาก, ไมโครโฟน, โทรโข่ง
Physical, Radiogram, Analog, Digital
ภาษาท่าทางAction, Behavior
ทัศนวิสัยของบรรยากาศ(สิ่งรบกวน แสง เงา สี)
อวัยวะ, อุปกรณ์สร้างสัญลักษณ์
Physical
ภาษาเขียนWriting
อักขระ อักษร (ที่ผู้ส่งและผู้รับ สามารถรับรู้ร่วมกันได้)
กระดาษ ปากกา หมึกหรือสี คอมพิวเตอร์
Physical, Analog, Digital
ภาษาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Language)– Digital – Analoge – Radio
คลื่นไฟฟ้า และคลื่นแม่เหล็ก และคลื่นวิทยุ
เครื่องรับ-เครื่องส่ง วิทยุ วิทยุโทรทัศน์ ระบบอะนาล็อก ระบบดิจิตอลคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่าย, อินเตอร์เน็ต
Analog, Digital

ในการส่งสาร จะต้องกำหนดเวลา เพื่อให้ผู้รับสาร มีโอกาสในการรับ เวลา หมายถึง จำนวนเวลา (วินาที, นาที, ชั่วโมง) และระยะเวลา (Time หรือ ครั้ง) โอกาส หมายถึง ช่วงเวลาที่พอเหมาะพอดีที่ผู้รับสาร สามารถรับรู้ถึงสาร
3. การสื่อสารจะสำเร็จสมบูรณ์ ต่อเมื่อผู้ส่งสารรับทราบถึงปฏิกิริยาของผู้รับสาร หลังจากรับสารนั้นแล้ว
4. การสื่อสารจะมีคุณค่า ก็ต่อเมื่อ ผู้รับสารเกิดการรับรู้ (Awareness) เกิดองค์ความรู้ (Knowledge) เกิดความเชื่อถือ เชื่อมั่น จนยอมรับข้อเสนอหรือเงื่อนไขในสารนั้น (Acceptation) หรือเกิดการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง (Decision) ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Behavior)
5. การสื่อสารในความหมายของระบบบุญนิยม หรือ การสื่อสารบุญนิยม จะอาศัยกรอบทฤษฎีและคำอธิบายของการสื่อสารขั้นพื้นฐาน เพื่ออธิบายให้เห็นถึงพฤติกรรม กระบวนการ และผลของการสื่อสารที่มีทิศทางและเป้าหมาย จาก - ไปสู่ + (Benefit of disgorge)
การจำแนกสาร
การจำแนกสาร
วจนสาร หมายถึง สารที่แทนด้วยคำพูด หรือการเขียน
อวจนสาร โดยทั่วไป หมายถึง สารที่แทนด้วยสัญลักษณ์อื่นที่มิใช่คำพูด
รูปธรรม(Object, Tangibles)
Word, Speech, Talk about
Image, Picture, Animation, Multimedia
นามธรรม(Subject, Intangilbles)
ความหมาย–Direct Meaning–Indirect Meaning
ทัศนสาร ()ภาษาท่าทาง
เครื่องมือดำเนินการ (Implement)
Listening, Talking, Reading, Writing,
Seeing, Thinking
ผลที่เกิดขึ้น* (Result)
1. ยอมรับ (Acceptation)
2. ตัดสินใจ (Decision)
3. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Behavior)–ชั่วคราว–ถาวร
วัตถุประสงค์ทางคุณธรรม (บุญนิยม)
1. วิเคราะห์สาร เลือกสิ่งที่มีผลเป็นบวก (เชิงคุณธรรม) แล้วยอมรับ
2. ตัดสินใจในการรับสารนั้น ตามหลักนิยามความจริง 7 ประการ*
3. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนตามสารที่ได้รับ การเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับระดับความหนักแน่นของความเชื่อ - ถ้าเชื่อฟัง เชื่อถือ (เลื่อมใส) ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบชั่วคราว - ถ้าเชื่อมั่น (ศรัทธา) ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบถาวร
[หลักนิยามความจริง 7 ประการ หมายถึงหลักแห่งการตัดสินใจกระทำการ อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยอาศัยองค์ประกอบหลัก 7 ประการ คือ “ดี, ถูกต้อง, เป็นประโยชน์, ทำให้พ้นทุกข์ได้ หรือแก้ปัญหาได้, มีความเป็นไปได้, รู้ได้สัมผัสได้จากรูปธรรมและนามธรรม, และท้าทายให้มาพิสูจน์ได้”]
ทฤษฎีและแบบจำลองการสื่อสาร
ทฤษฎี คือข้อความเกี่ยวกับการทำงานของสิ่งต่าง ๆ หรือข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงต่าง ๆ
แบบจำลอง เกิดจากความพยายาม ที่จะอธิบายปรากฏการณ์ทางการสื่อสารแบบต่างๆ จึงสร้างแบบจำลองขึ้น
แบบจำลองทฤษฎีการสื่อสารมีอยู่ 4 แบบ คือ [*อาจารย์ประช้น วัลลิโก]
(1) ทฤษฎีการสื่อสารเชิงระบบพฤติกรรม
(2) ทฤษฎีการสื่อสารเชิงพฤติกรรมการเข้าและถอดรหัส
(3) ทฤษฎีการสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์
(4) ทฤษฎีการสื่อสารเชิงปริบททางสังคม
1. ทฤษฎีการสื่อสารเชิงระบบพฤติกรรม มีลักษณะดังนี้
1.1 เป็นการมองการสื่อสารทั้งระบบ คล้ายเครื่องจักรกล ระบบการรับส่งข้อมูลข่าวสารจะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อมีแหล่งข่าวสาร (ผู้ส่ง) ส่งสัญญาณผ่านช่องทางการสื่อสารไปยังจุดหมายปลายทาง (ผู้รับสาร)
1.2 เป็นการสื่อสารแบบตัวต่อตัว ที่เห็นหน้าตาของผู้รับและผู้ส่งได้
1.3 มีการกระทำสะท้อนกลับ (Feed back)
1.4 มีสภาพแวดล้อมทางสังคม จิตวิทยา กาลเวลา สถานที่ เป็นปัจจัยในการสื่อสาร และประกอบคำอธิบาย และให้เหตุผล
1.5 เป็นการสื่อสารแบบต่อเนื่อง (เป็นวงกลม)
1.6 เป็นการสื่อสารเรื่องใหม่ ๆ
1.7 ผู้สื่อสาร เป็นผู้กำหนดความหมาย และเจตนารมย์ของสารที่ส่งไป
2. ทฤษฎีการสื่อสารเชิงพฤติกรรมการเข้าและถอดรหัส มีลักษณะดังนี้
2.1 ถือว่าการเข้ารหัสและการถอดรหัสเป็นหัวใจของการสื่อสาร
2.2 กระบวนการเข้ารหัส และถอดรหัส คือ รูปแบบของการควบคุม ตรวจสอบ หรือมีอำนาจเหนือสิ่งแวดล้อม
2.3 อธิบายกิจกรรมของการเข้ารหัส และถอดรหัส 3 ประการ
2.3.1 การรับรหัส-ถอดรหัส (Perception or Decoding)
2.3.2 การคิด-ตีความ (Cognition or Interpretation)
2.3.3 การตอบสนอง-การเข้ารหัส (Response or Eencoding)
3. ทฤษฎีการสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์ ทฤษฎีนี้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า
3.1 การสื่อสาร หรือ ปัจจัยทางการสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการสร้างปฏิสัมพันธ์ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาข่าวสาร กับบุคคล
3.2 ปฏิสัมพันธ์แสดงออกมาทางพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้รับสาร ดังนั้น พฤติกรรมทั้งหลายจึงเกิดจากพฤติกรรมทางการสื่อสารทั้งสิ้น
ตัวแปรทางการสื่อสาร ที่ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ไม่เหมือนกัน มี 3 ประการ คือ
3.2.1 ปัจจัยด้านผู้ส่งสาร บุคลิกภาพของผู้ส่งสาร ความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร ทัศนคติของผู้ส่งสาร ความคิด อิทธิพลของข่าวสาร
3.2.2 ปัจจัยผู้รับสาร ความรู้สึกของผู้รับสารต่อข่าวสาร บุคลิกภาพเป็นตัวกำหนดปฏิกิริยาตอบเนื้อหาข่าวสาร
3.2.3 ปฏิกิริยาต่อเนื้อสารเดียวกัน จะแตกต่างกันไปตามอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดบุคลิกภาพของผู้รับสารที่แตกต่างกัน ตัวแปรทางการสื่อสาร ที่ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน มี 4 ประการ คือ
(1) ปัจจัยผู้ส่งสาร
(2) ปัจจัยผู้รับสาร
(3) ปัจจัยทางด้านสังคม หมายถึงอิทธิพลทางสังคม เพราะ คนเราต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคม เพื่อให้สังคมยอมรับ
(4) ลักษณะของเนื้อหาข่าวสาร ลักษณะของเนื้อหาข่าวสารสร้างปฏิกิริยาของผู้รับสารได้แตกต่างกัน ที่สำคัญคือ รูปแบบการเรียบเรียงเนื้อหา การจัดลำดับภาษาที่ใช้ การเลือกประเด็น การจัด sequence ของเนื้อหา
4. ทฤษฎีเชิงปริบททางสังคม ทฤษฏีนี้อธิบายว่า
4.1 กระบวนการสื่อสาร เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ภายใต้อิทธิพลทางสังคมและวัฒนธรรม
4.2 สภาพแวดล้อมทางสังคมมีอิทธิพลอย่างสำคัญที่ทำให้การสื่อสารเกิดขึ้นได้ ดังนั้น สังคมเป็นปัจจัยที่ควบคุมแหล่งข่าวสาร
4.3 สังคมเป็นปัจจัยการไหลของข่าวสาร และผลของข่าวสาร ทำให้การไหลของข่าวสารเปลี่ยนแปลงได้ทุกครั้งทุกเมื่อ

วิเคราะห์แบบจำลองการสื่อสาร
แบบจำลองการสื่อสาร ที่ผู้เขียนคัดเลือกและหยิบยกมาอธิบาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการสื่อสาร องค์ประกอบที่จำเป็นของการสื่อสาร และผลของการสื่อสาร ตลอดจนการวิเคราะห์และจำแนกประเภทของการสื่อสาร ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่คำอธิบายว่า การสื่อสารบุญนิยมมีกระบวนการอะไรที่สำคัญ และมีบทบาทอย่างไรต่อการแก้ไขปัญหาทางสังคม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
แบบจำลองการสื่อสารดังกล่าว ได้แก่ (1) แบบจำลองของลาสเวลล์ (2) แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ ของแชนนันและวีเวอร์ และ (3) แบบจำลอง ABX ของธีโอดอร์ นิวคอมบ์
1. แบบจำลองของลาสเวลล์ มุ่งอธิบายกระบวนการสื่อสาร ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการสื่อสาร จากคำถามที่ว่า ใคร กล่าวอะไร ผ่านช่องทางใด กับใคร ด้วยผลประการใด
เป็นกระบวนการสื่อสารแบบง่ายๆ ระหว่างบุคคลซึ่งต้องกระทำต่อหน้า และมีการคาดหวังผลจากการสื่อสารในเวลาเดียวกัน แต่ไม่มีการตรวจสอบผลสะท้อนกลับ
แบบจำลองการสื่อสารของลาสเวลล์ เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีการสื่อสารเชิงระบบพฤติกรรม และทฤษฎีการสื่อสารเชิงพฤติกรรมการเข้าและถอดรหัส เพราะเป็นการสื่อสารที่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานการสื่อสารครบถ้วน คือมีผู้ส่งสาร ผู้รับสาร ตัวสาร และช่องทางการสื่อสาร (ข้อ 1.1) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลตัวต่อตัว (ข้อ 1.2) และผู้ส่งสาร จะเป็นผู้กำหนดสาร และเจตนารมย์ด้วยตนเอง (ข้อ 1.7) และในการสื่อสารระหว่างบุคคล จะต้องมีการเข้ารหัส-ถอดรหัส เพราะการสื่อสารระหว่างบุคคล จำเป็นต้องสำแดงผลในการสื่อสารด้วย (ข้อ 2.3)
จากกระบวนการสื่อสารในขั้นตอน ใคร กล่าวอะไร อาจกล่าวได้ว่าเป็นหลักเกณฑ์ข้อหนึ่งของทฤษฎีการสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์ ในเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาข่าวสาร กับบุคคล (ข้อ 3.1) นั้น เป็นปัจจัยหนึ่งทางการสื่อสาร
ลาสเวลล์ ไม่ได้อธิบายถึงสภาพแวดล้อม หรือบริบททางสังคมว่า จะมีอิทธิพลต่อการสื่อสารตามแนวคิดของเขาแต่อย่างใด ดังนั้น จึงไม่อาจสรุปได้ว่า ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม จะมีอิทธิพลต่อการสื่อ ตามแบบจำลองการสื่อสารของลาสเวลล์
แต่แบบจำลองที่ลาสเวลล์กล่าวไว้ กลับมีประโยชน์อย่างมากต่อการนำไปใช้อธิบายโครงสร้าง และแบ่งประเภทของงานวิจัยทางการสื่อสาร โดยการจำแนกและวิเคราะห์องค์ประกอบการสื่อสาร 5 เรื่องหรือ 5 ประเภท คือ (1) การวิเคราะห์แหล่งสาร (Control Studies Analysis)(2) การวิเคราะห์เนื้อหาของสาร (Content Analysis) (3) การวิเคราะห์สื่อที่ใช้เป็นช่องทางในการส่งสาร (Media Analysis) (4) การวิเคราะห์ผู้รับสาร (Audience Analysis) และ (5) การวิเคราะห์ผลของการสื่อสาร (Effect Analysis)
2. แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ ของแชนนันและวีเวอร์ มีผัง Diagram ดังนี้
source --> [message] --> transmitter -->[signal] --> noise source -->[received signal] --> receiver --> [message]--> destination
อธิบายได้ว่า กระบวนการสื่อสาร จะเกิดขึ้นและดำเนินต่อไปได้ จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ
(1) ส่วนที่เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร (Information Source) (2) เครื่องส่งสาร (Transmetter) (3) เครื่องรับ (Receiver) (4) จุดหมายปลายทาง (Destination) (5) เนื้อหาข่าวสาร (Message)
ส่วนที่เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร (Information Source) จะเป็นผู้กำหนดเนื้อหาสาระของสาร หรือ Message ส่งต่อไปยังเครื่องแปลง เพื่อแปลงเนื้อหาข่าวสารให้เป็นสัญญาณ (เข้ารหัส) แล้วส่งรหัสสัญญาณนั้นออกไปยังเครื่องรับ (Receiver) โดยผ่านช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม จากนั้นเครื่องรับก็จะแปลงสัญญาณที่รับมานั้น (ถอดรหัส) ให้เป็นเนื้อหาข่าวสารอีกครั้งหนึ่ง เพื่อส่งต่อไปให้ผู้รับสารตามเป้าหมาย ระหว่างเครื่องแปลงสัญญาณภาคส่ง กับเครื่องแปลงสัญญาณภาครับ อาจเกิดปัญหาและอุปสรรคทำให้สัญญาณสูญเสีย จึงต้องมีการส่งสัญญาณซ้ำ หรือเพิ่มแรงส่งของสัญญาณ
แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ ของแชนนันและวีเวอร์ เป็นพฤติกรรมการสื่อสารที่เหมือนเครื่องจักรกลมาก มีลักษณะเป็นเส้นตรง ซึ่งต่างจากการสื่อสารของมนุษย์ จะมีลักษณะเป็นวงกลม ที่แต่ละภาคส่วนขององค์ประกอบการสื่อสาร มีความสลับซับซ้อน การนำทฤษฎีการสื่อสารเชิงพฤติกรรมการเข้ารหัสและถอดรหัส มาอธิบายเปรียบเทียบได้โดยอนุโลม คือ การเข้ารหัสและการถอดรหัสเป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสาร (ข้อ 2.1) เพราะถ้ามีปัญหาหรืออุปสรรจากสิ่งรบกวน จะทำให้การเข้ารหัสและการถอดรหัสผิดพลาดได้ จึงต้องมีการควบคุมเป็นพิเศษ (ข้อ 2.2) เพื่อให้การรับรหัส มีการตีความหมาย และเกิดการสนองตอบและ เข้ารหัสต่อไป (ข้อ 2.3)
อาจสรุปได้ว่า แบบจำลองการสื่อสารของแชนนันและวีเวอร์ไม่เหมาะที่จะนำมาอธิบายกับการสื่อสารระหว่างมนุษย์ แต่จะเป็นประโยชน์หากนำไปประยุกต์ใช้กับระบบการสื่อสาร โทรคมนาคม (Tele-communication) การสื่อสารมวลชน (Mas Media Communication) และเครือข่ายการสื่อสาร (Network Communication, Internet)
3. แบบจำลองการสื่อสาร ABX ของ ธีโอดอร์ นิวคอมบ์ อธิบายได้ว่า การสื่อสารจะเกิดขึ้นได้เพราะ มนุษย์ต้องการให้เกิดความสมดุลทางความคิด ทัศนคติ และพฤติกรามต่างๆ โดยการสื่อสารจะเป็นเครื่องมือช่วยให้การตกลงใจ ยอมรับในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนๆ กัน การสื่อสารจะทำให้บุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (A กับ B) สามารถดำรงและรักษาความเข้าใจในสิ่งที่สื่อสารกัน เมื่อเกิดความไม่สมดุลกัน หรือขัดแย้งกัน (X) มนุษย์ก็จะพยายามทำการสื่อสารกัน โดยการแสวงหาข้อมูล การให้ข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อขจัดอุปสรรคเหล่านั้นให้ได้
แบบจำลองการสื่อสารของนิวคอมบ์ สามารถนำทฤษฎีการสื่อสาร ทั้ง 4 แบบมาอธิบายได้
แบบจำลองการสื่อสาร ABX เป็นทฤษฎีการสื่อสารเชิงพฤติกรรมการเข้าและถอดรหัส เพราะในการสื่อสารที่จะให้อีกฝ่ายเข้าใจในความคิดและความต้องการของตน จะต้องมีการรับ-ถอดรหัส แล้วตีความ เพื่อตอบสนองการเข้ารหัสต่อไป (ข้อ 2.3)
แบบจำลองการสื่อสาร ABX เป็นทฤษฎีการสื่อสารเชิงระบบพฤติกรรม ในเวลาเดียวกันก็มีส่วนสัมพันธ์ กับทฤษฎีการสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์อีกด้วย เพราะการสื่อสารที่ต้องการรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน จำเป็นต้องคำนึงถึง ปัจจัยการสื่อสาร (ข้อ 1.4 และ 3.1 - 3.2) และจำเป็นต้องมีองค์ประกอบของระบบพฤติกรรมครบสมบูรณ์ คือต้องประกอบด้วยผู้ส่งสาร ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร (ข้อ 1.1) เป็นการสื่อสารแบบตัวต่อตัว (ข้อ 1.2) ต้องมีการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ หรือ Feed back (ข้อ 1.3) และเป็นการสื่อสารแบบต่อเนื่อง (ข้อ 1.5)
นอกจากนี้เป็นการสื่อสารที่ต้องอาศัยบริบททางสังคม มาเป็นปัจจัยประกอบ กล่าวคือ ความเชื่อทางสังคมและวัฒนธรรม จะมีอธิพลต่อกระบวนการสื่อสาร (ข้อ 4.1) การควบคุมแหล่งข่าวสาร (ข้อ 4.2) และการเปลี่ยนแปลง (การไหล) ของข้อมูลข่าวสาร (ข้อ 4.3)
แนวคิดของนิวคอมบ์ เป็นประโยชน์มากในการนำไปประยุกต์ใช้กับการสื่อสารบุญนิยม เพราะสามารถนำไปอธิบายหลักและวิธีการลดปัญหา และขจัดปัญหาทางจริยธรรม และความประพฤติของมนุษย์ได้ ตลอดจนใช้ในการโฆษณา และการณรงค์ได้อย่างเหมาะสม
บทสรุป
องค์ประกอบการสื่อสาร (Factor of Communication) ประกอบด้วย
(1) ฝ่ายส่งสาร
(2) ฝ่ายรับสาร
(3) ตัวสาร
(4) ช่องทางการสื่อสาร
(5) ผลของการสื่อสาร
องค์ประกอบข้างต้น สามารถนำไปใช้อธิบายแบบจำลองการสื่อสาร หรือทฤษฎีการสื่อสาร ได้ทุกทฤษฎี

บทที่ 2 การสื่อสารบุญนิยม

การสื่อสารถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่ง ในการนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม เพื่อลดปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง องค์กรบุญนิยม เป็นองค์กรที่มีปรัชญาแนวคิด อุดมคติและอุดมการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคนและสังคมอย่างลึกซึ้ง ดังนั้นก่อนที่จะนำระบบการสื่อสารไปประยุกต์ใช้ จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ระบบเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในด้าน คุณภาพ ปริมาณ เวลา โอกาส และงบประมาณขององค์กรและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ปรัชญา แนวคิด และอุดมการณ์ของระบบบุญนิยม
คำว่า “บุญนิยม” ยังไม่คุ้นเคยในหมู่นักวิชาการ และแม้แต่นักการศาสนาก็ยังไม่มีผู้ใดอธิบายไว้ ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2530 กลุ่มผู้ปฏิบัติธรรมชาวอโศก หรือที่รู้จักกันดีในนามสำนักสันติอโศก ซึ่งมีสมณะโพธิรักษ์ เป็นประธานสงฆ์ และเป็นผู้นำ ได้อรรถาธิบายแจกแจงความหมาย ที่มา ปรัชญา แนวคิด ว่าระบบบุญนิยมได้ถือกำเนิดมาพร้อมกับการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา แต่เรียกกันในชื่ออื่น จนกระทั่งหลังพุทธกาลประมาณ 2,500 ปี กล่าวคือ ปี พ.ศ.2518 ซึ่งเป็นปีที่พระโพธิรักษ์ได้ประกาศแนวทางปฏิบัติศาสนาพุทธในแนวทางดั้งเดิม เรียกหมู่กลุ่มของตนเองว่า “อโศก” ตีความตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มีแนวปฏบัติในศีลที่โดดเด่น จนเกิดความแตกต่างจากสงฆ์กระแสหลัก ทำให้เป็นอุปสรรคในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในขณะนั้น เพื่อให้การประกาศสัจธรรมเป็นไปอย่างเปิดเผย พระโพธิรักษ์จึงขอฉันทานุมัติจากที่ประชุมมหาเถรสมาคม ขอปกครองคณะสงฆ์ของตนเอง แยกออกจากสงฆ์กระแสหลัก ซึ่งปกครองโดยมหาเถรสมาคม จากนั้นเป็นต้นมา ระบบบุญนิยมจึงเริ่มก่อตัวขึ้น จากกลุ่มคนที่เรียกตนเองว่า “ชาวอโศก” โดยมีพื้นฐานมาจากการฝึกอบรมสมาชิกให้เคร่งครัดในหลักศาสนา จนเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดหมู่กลุ่ม ชุมชน โดยมีศาสนสถานซึ่งเรียกว่า “พุทธสถาน” เป็นสถานประกอบการทางศาสนา มีนักบวช ซึ่งเรียกว่า “สมณะ” (ฝ่ายชาย) และ “สิกขมาตุ” (ฝ่ายหญิง) เป็นผู้อบรมสั่งสอน เกิดระบบการศึกษาซึ่งเรียกว่า “สัมมาสิกขา” ขึ้นมารองรับการพัฒนาหมู่สมาชิกญาติธรรม
ถือได้ว่า องค์ประกอบ 3 ส่วนของชุมชนบุญนิยม ได้แก่ บ้าน (ชุมชนชาวอโศก) วัด (พุทธสถาน) และ โรงเรียน (สัมมาสิกขา) ซึ่งรวมกันเรียกว่า “บวร” เป็นปัจจัยนำเข้า (Input) ในการบริหารจัดการบุคคล องค์กร และระบบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของวิถีบุญนิยม ตามทฤษฎีอริยมรรค มีองค์ 8 ซึ่งถือได้ว่าเป็นทัศนะแม่บทสำคัญ หรือเป็นกระบวนทัศน์ (Paradigm) ของชาวอโศกในการพัฒนาองคาพยพต่างๆ มากมาย ทั้งทางด้านศาสนา, การเมือง การปกครอง (การเมืองอาริยะ), การเงิน การคลัง (กองบุญ สาธารณโภคี), การกสิกรรม (กสิกรรมไร้สารพิษ สามอาชีพกู้ชาติ), สุขภาพ (สุขภาพ 7 อ.), ชุมชนและสิ่งแวดล้อม (ชุมชนบุญนิยม), อุตสาหกิจชุมชน, การศึกษา (สัมมาสิกขา), การสื่อสาร, เศรษฐกิจ พาณิชย์, และการบริโภค รวม 11 ด้าน โดยมีองค์กรหลักของชาวอโศก คือ มูลนิธิธรรมสันติ สมาคมผู้ปฏิบัติธรรม กองทัพธรรมมูลนิธิ ในการบริหารกิจกรรม กิจการ และการจัดพิธีกรรมต่างๆ จนเกิดการแตกตัวขององค์กรบุญนิยม เครือข่ายชุมชน เพื่อรองรับกิจกรรม และกิจการ ซึ่งถือว่าเป็นธุรกรรมบุญนิยม
ตลอดระยะเวลา 30 ปี ที่ผ่านมา (ปี พ.ศ.2518 – ปัจจุบัน) สมาชิกทุกคนในองค์กรต่างๆ ได้รับการฝึกอบรม พัฒนาตน สืบทอดจากคนรุ่นพ่อสู่ลูกถึงหลาน ให้เป็นผู้รู้ ลด ละ เลิก จากอบายมุข ถือมังสวิรัติ รักษาศีลอย่างเคร่งครัด ซึ่งนับว่านี่คือพื้นฐานการปฏิบัติธรรม นำไปสู่วัฒนธรรม และการสร้างชีวิต สร้างสังคม ชุมชน ของคนขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ เสียสละ สร้างสรร เพื่อประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ (พหุชนหิตายะ) เพื่อความสุขของมวลมนุษยชาติ (พหุชนสุขายะ) ประสานสัมพันธ์จนเกิดเครือข่ายชุมชนพึ่งตนเอง เรียกว่า เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย (คกร.) องค์กรนี้ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อรองรับการขยายตัวของเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิต หลักสูตร “สัจธรรมชีวิต” เป็นความร่วมมือระหว่าางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) และ สถาบันเพื่อการพัฒนาการเกษตรและชนบท จำเนียร สารนาค (สจส.) กับ เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย (คกร.) โดยมุ่งเปลี่ยนวิถีชีวิตเกษตร จากเป็นผู้มีหนี้สินและอบายมุข ไปสู่ชีวิตใหม่ ด้วยการลดรูรั่วของชีวิต ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (ปี พ.ศ.2544 – 2547) เพื่อพิสูจน์หลักธรรมของพระพุทธเจ้า และหลักการของระบบบุญนิยม ซึ่งมีได้ และเป็นจริงในสังคม ท่ามกลางความรุนแรงของกระแสทุนนิยม บริโภคนิยม ส่งผลให้เกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมกว่าร้อยละ 70 เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตได้จริง
กิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มญาติธรรม เน้นเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก ช่วงแรกอาศัยงบประมาณจากกองทุนที่สะสมขึ้นโดยชาวอโศก แม้จะเป็นกองทุนเล็กๆ แต่ทุกคนทำด้วยศรัทธากลายเป็นต้นแบบ (Model) ในการต่อยอดกิจกรรมให้แผ่ไพศาล จึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเสมอมา (ยิ่งให้ไป ยิ่งได้มา) นี่คือภารกิจในการสร้างทุนทางสังคม (Social Outputs) ของชาวบุญนิยม โดยอาศัยต้นทุนที่มีอยู่จริงภายในชุมชน กอบก่อรังสรรจนเป็นรูปธรรมชัดเจน ปัจจุบันรัฐเริ่มเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนามนุษย์ตามแนวทางระบบบุญนิยม จึงได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการต่างๆ จำนวนหนึ่ง ส่งผลให้กิจกรรมบุญนิยมแผ่กว้างเกื้อไปสู่ประชาชนมากขึ้น อีกรอบหนึ่ง เมื่อปลายปี พ.ศ.2547 หมู่มวลสมาชิกบุญนิยม ได้จัดสัมมนาปรับโครงสร้างองค์กรเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนงาน โครงการที่ขยายออกไป เพื่อขยายโอกาสในการรับใช้สังคมให้มากกว่าเดิม ในที่สุดจึงประกาศจัดตั้ง “สถาบันบุญนิยม” ขึ้น นับเป็นองค์กรหลักที่ครอบคลุมทั้งเนื้อหาสาระ กิจกรรม การบริหารจัดการ ในนามของ “ชาวอโศก… เพื่อมวลมนุษยชาติ” อันเป็นเป้าหมายและอุดมการที่มุ่งมั่นขององค์กรบุญนิยม
ความหมาย
โดยสามัญสำนึกแล้ว จุดหมายที่มนุษย์ทุกคนต้องการก็คือ สิ่งที่เรียกว่า ความสุข ซึ่งหมายถึง ความสุขที่เกิดจากการได้เสพ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ผ่าน ตา หู จมูก ผิวกาย และจิตใจ (อายตนะภายใน และอายตนะภายนอก) การได้มาซึ่งความสุขดังกล่าว มนุษย์ได้ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ มาเป็นเครื่องมือบำบัดให้เกิดความสุขเหล่านั้น และเรียกสภาพความสุขนั้นในทางศาสนาว่า “สวรรค์” สภาวะของสวรรค์ หรือความพอใจที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน มนุษย์จึงต้องแสวงหาสิ่งที่เรียกว่าความสุขมาบำบัด เพื่อรักษาดุลของสวรรค์ ให้คงอยู่นานที่สุด
ช่วงเวลาใด ปริมาณความสุขหรือความพอใจเกิดลดหายไป ปัญหาหรือความทุกข์ ก็ปรากฏขึ้น เรียกสภาพความทุกข์ในทางศาสนาว่า “นรก” มนุษย์ผู้นั้นก็จะวิ่งแสวงหาความสุขมาเติมให้เต็มอีกในครั้งต่อไป เพราะความไม่ยั่งยืนของความสุข ดังนั้นสภาวะนรก หรือ สวรรค์ จึงเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมุนวนเป็นวัฎจักรของชีวิต
ตราบใดที่มนุษย์ยังรักษาดุลของความสุขไว้ได้ ก็จะยังไม่เกิดพลังหรือแรงจูงใจใดๆ หรือไม่ต้องดิ้นรน ที่จะแสวงหาความสุขมาเพิ่มเติม รอจนกว่าดุลยภาพของความสุขจะสูญเสียไปในระดับที่เกิดความทุกข์ขึ้น มนุษย์จึงจะดิ้นรน แสวงหา เป็นแรงจูงใจที่จะต้องคิดหาวิธีการหรือศาสตร์ต่างๆ เพื่อนำมาบำบัดความทุกข์เหล่านั้น
จากสมการ [1]
[ใช้เป็นฐานคิดต้นแบบ หรือกระบวนทัศน์ (Paradigm Model) เพื่ออธิบายการเกิดลัทธิทางการเมือง สังคม และระบบเศรษฐกิจโลก ดูรายละเอียดจาก สุนัย เศรษฐบุญสร้าง, อุดมการณ์ทางสังคมในพุทธศาสนา ตามแนวความคิดของสำนักสันติอโศก. (กรุงเทพฯ: บจก.ฟ้าอภัย, 2534), หน้า 92]
ปัญหา ความทุกข์ = ความต้องการ / สิ่งตอบสนองความต้องการ
อธิบายได้ว่า “ความต้องการ” ของมนุษย์มี 2 ประเภท คือ (1) ความต้องการพื้นฐาน หรือ Need ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องแสวงหา เพื่อรักษาชีวิตให้อยู่รอด ปลอดภัย ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค (2) ความต้องการส่วนเกิน หรือ Want ได้แก่ลาภ ยศ สรรเสริม โลกียสุข เป็นความโง่เขลาของมนุษย์ ที่ดิ้นรนแสวงหาสิ่งเหล่านี้มาเสพ เพื่อแสดงให้เห็นว่าตนมีฐานะ ความอลังการ เหนือมนุษย์ด้วยกันเอง เช่น เงิน เพชร คฤหาสน์หรู รถราคาแพง
ความต้องการที่สร้างปัญหาให้กับมนุษย์ ก็คือ ความต้องการส่วนเกิน ซึ่งก็คือตัวตนของกิเลส ตัณหา อุปาทานนั่นเอง การแก้ปัญหาด้วยการ เพิ่มสิ่งตอบสนองความต้องการ หรือสนองกิเลส ดูเหมือนจะระงับปัญหาได้ชั่วคราว แต่เมื่อเกิดความต้องการที่จะเสพอีก หากไม่สามารถสนองความต้องการ หรือสนองได้ในปริมาณน้อย ก็จะเกิดปัญหาหรือความทุกข์ ไม่ช่วยให้ปัญหาหมดไป เพราะตราบใดที่ ความต้องการซึ่งเป็นตัวเศษยังมีค่ามากกว่า 0 ปัญหาก็ยังมีค่าอยู่ ยังคงเป็นปัญหาต่อไป
ในทางตรงกันข้าม หากลดที่ตัวเศษจนไม่มีค่า ก็ไม่มีความจำเป็นต้องไปหาสิ่งตอบสนอง หรือเพิ่มค่าให้กับตัวส่วน ปัญหาก็จะเบาบางลง จนกว่าความต้องการตัวเศษจะมีค่าเป็น 0 (สูญ) ปัญหาก็จะหมดไป ไม่ต้องไปแสวงหาให้อาหารกิเลสให้เหนื่อยแรง ต่อจากนั้น ก็จะมีเวลา แรงงาน และความคิด เป็นพลังงานที่เหลืออยู่ หากมนุษย์ผู้นั้นไม่ทำสิ่งใดให้เกิดประโยชน์ ก็จะกลายเป็นหนี้ของสังคม หนี้ธรรมชาติ เพราะอากาศ แสงแดด ผืนดิน น้ำ ที่ตนเสพเข้าไป (ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน) ล้วนเป็นสิ่งที่มีมูลค่าทั้งสิ้น (โดยเฉพาะอากาศสำหรับหายใจ) และมิใช่ของ “ฟรี” ที่ธรรมชาติหยิบยื่นให้ เพียงแต่มนุษย์ “ขอยืม” เอามาใช้ชั่วคราว (อาจถึง 100 ปี หรือน้อยกว่านี้) ถ้าไม่เสียสละ หรือทำความดีตอบแทนค่าอากาศ ค่าแสงสว่าง ค่าน้ำ ที่ตนเสพเข้าไปทุกวัน มนุษย์ผู้นั้นก็จะกลายเป็น “ขโมย” ไปทันที ดังนั้น สาระของชีวิต ก็คือการลดกิเลสให้ได้ก่อนตาย เพื่อว่าจะได้ตายอย่างไม่เป็นหนี้
ระบบบุญนิยม ให้คำตอบเกี่ยวกับสาระของชีวิต และการทำชีวิตให้มีคุณค่า จากคำถามที่ว่า
ชีวิตนี้เกิดมาเพื่ออะไร?เกิดมาเพื่อตาย…..!
ถ้าอย่างนั้น เกิดมาทำไม?เกิดมาทำงาน…..!
ทำงานเพื่ออะไร?เพื่อให้ตายอย่างมีคุณค่า สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์.[2]
[ข้อความปกหลังของหนังสือ สรรค่า สร้างคน**]
ความตาย กับการทำงาน จึงมิใช่ปัญหาสำหรับผู้ที่รู้และเข้าใจสัจจะดีแล้ว
นักปรัชญาวิถีพุทธ ได้หยิบยกเอาความทุกข์มาเป็นทัศนะแม่บทในการกำหนดทิศทางการแก้ปัญหาของมนุษย์ ทำให้มนุษย์เข้าใจแก่นสารของชีวิตได้ลึกขึ้น การตรัสรู้หลักอริยสัจ 4 ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เกิดจากมโนทัศน์ของความทุกข์ โดยเริ่มจากการค้นหาว่าปัญหาหรือความทุกข์คืออะไร (ทุกข์) เมื่อเห็นตัวตนของความทุกข์แล้ว จึงตั้งเป้าหมายให้แก่ตนเองว่า จะต้องไปเสียให้พ้นจากความทุกข์เหล่านั้นให้ได้ (นิโรธ) จึงแสวงหาหนทาง (มรรค) ในการกำจัดปัญหาหรือทุกข์เหล่านั้นด้วยวิธีการต่างๆ โดยเริ่มจากค้นหาต้นเหตุ (สมุทัย) เป็นเบื้องต้นก่อน นี่คือกลวิธีในการแก้ไขปัญหาที่ได้ผลมาแล้ว กลายเป็นทฤษฎีต้นแบบให้อีกหลายทฤษฎีได้นำมาใช้อ้างอิง
จะเห็นว่าการมองชีวิตภายใต้มโนทัศน์ของความทุกข์ ก่อให้เกิดคำถามมากมาย และเป็นที่มาของการแสวงหาองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ
ความรู้ 4 ระดับ
องค์ความรู้ ที่เป็นบ่อเกิดแห่งความเจริญงอกงามของชีวิต เรียกว่า “พลังแห่งญาณ” (Insight Storm) หรือ ญาณวิทยา โดยจะแบ่งคุณลักษณะ และคุณสมบัติขององค์ความรู้ออกเป็น 4 ระดับ คือ
1. ความรู้ในความรู้ หรือ โลกียะญาณ (Knowledge) หมายถึง ความรู้ในระดับที่มนุษย์สามัญทั่วไปเรียนรู้ได้ เพราะแค่รู้คำตอบ ถูก ผิด ตามหลักตรรก หรือตามทฤษฎีต่างๆ ซึ่งตัวตนของความรู้ในระดับนี้จะถูกนำไปใช้ในการสื่อสาระหว่างมนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของรหัส (Code) สัญลักษณ์ (Symbol) สาระ (Message) หรือสัญญาณ (Signals) หรือสารสนเทศ (Information) ใดๆก็ตาม เพื่อนำไปตอบสนองสิ่งที่มนุษย์กระหายใคร่รู้
2. ความรู้ในความจริง หรือ สัจจญาณ (Truth) หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากการแยกยะ วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่าง “ความรู้” กับ “ความจริง” เพื่อตอบคำถามว่า มีความจริงใดบ้าง ที่ตนยังไม่รู้ หรือ ยังไม่ได้รู้จริงใน ความรู้ที่เป็นความจริง นั้นๆ เป็นความรู้ที่อยู่ในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการเรียนรู้ในเรื่องของความดี-การเสียสละ และความชั่ว-การเอาเปรียบ ที่มีอยู่จริงในตัวตนของตน
3. ความจริงในความรู้ หรือ สัจจานุโพธิ (Insight) หมายถึง ความรู้ที่บุคคลผู้นั้นเริ่มเข้าถึงสัจจะ ความจริงว่า การเลิกละชั่ว และประพฤติดี เป็นเหตุให้เกิดความดีงาม ความบริสุทธ์ ความถูกต้อง และความสุข จึงเกิดความเชื่อมั่น ที่จะลดเลิกความชั่วให้ถึงที่สุด และเพิ่มความดีให้มากขึ้น เพราะผู้นั้นได้รับผลจากการประพฤติปฏิบัติจริงที่เกิดขึ้น จากที่ตนมีจริง เป็นจริง ก็ยิ่งเกิดความมั่นใจ (สมาธิตั้งมั่น) จากที่ตนทำได้แล้วตามที่รู้ (สิ่งที่รู้กับ สิ่งที่เป็น คือสิ่งอันเดียวกัน) ความรู้ระดับนี้เป็นองค์ความรู้ที่พิสูจน์ได้เฉพาะตน (เอหิปัสสิโก, ปั้จจัตตัง) ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่า 2 ระดับแรก
4. ความจริงในความจริง หรือ สัจจานุปัตติ (Extreme truth) เป็นความรู้ระดับที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะเกิดจากการปฏิบัติที่ถูกตรง (สัมมาอริยมรรค) จึงเกิดผล คือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ลดได้จริง เป็นลำดับๆ และรู้แน่ใจว่า กิเลสเหล่านั้น “ตายสนิท” ไม่กลับมาเกิดอีก และสามารถแยกแยะได้ว่า กิเลส ตัณหา อุปาทาน เรื่องใด ส่วนใด ที่ตายสนิทแล้ว เรื่องใด ส่วนใดที่ยังเหลืออยู่ แม้จะไม่มีมาตราวัดเป็นรูปธรรม แต่ก็รับรู้ได้ด้วยตน เรียกความรู้ในระดับนี้ว่า “ตรัสรู้” ความรู้ระดับนี้ จะเกิดขึ้นได้เฉพาะวิญญูชน ที่ประพฤติปฏิบัติตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัด (อริยมรรค 8) โดยไม่เลือกว่าวิญญูชนผู้นั้นจะเป็นคนชนชาติใด เพศใด อาชีพใด
การแสวงหาหนทางลดความต้องการส่วนเกิน และตรวจสอบตนเองว่าลดได้จริงหรือไม่เพียงใด เป็นองค์ความรู้ที่ทรงคุณค่า และเกิดประโยชน์ต่อมนุษย์มากกว่า (ความรู้ระดับที่ 3 - 4) ความรู้ในระดับที่ 1 หรืออาจกล่าวได้ว่า ความรู้ในความรู้ เป็นเครื่องมือในการแสวงความรู้ในระดับที่สูงขึ้น
(ศึกษารายละเอียดในคำอธิบาย บุญนิยมในมิติทางการเมือง การปกครอง บุญนิยมในมิติทางเศรษฐศาสตร์ และการพาณิช บุญนิยมในมิติการศึกษา ศิลปะ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้จากบทความในวารสารร่มพฤกษ์ ฉบับเดือนมีนาคม 2548 เรื่อง การสื่อสารองค์กรเชิงบูรณาการในองค์กรบุญนิยม (Establishment of Boonniyom Integrated Organizational Communication) บทที่ 1 หรือจากเอกสารอ้างอิงในบรรณานุกรม)
บริบททางสังคมบุญนิยม
วิถีชีวิตของสังคมมนุษย์ แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ
1. วิถีชีวิตโลกียะ หรือ โลกียชน (Virtual Life, Worldly Life) เป็นวิถีชีวิตที่มุ่งการบริโภค ตอบสนองความต้องการส่วนเกิน (กิเลส ตัณหา อุปทาน) เป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น อันเนื่องมาจาก การแย่งชิง และการบริโภคอย่างเสรี หรือ “แดก” (Drag Consumption) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณความเห็นแก่ตัวให้แก่ผู้บริโภค เพื่อแลกกับความสุขเสมือน (Virtul Happiness) หรือความสุขที่ในมิติของการได้เปรียบ ด้วยการใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ และโฆษณา ตลอดจนการรณรงค์
2. วิถีชีวิตโลกุตระ หรือ อาริยชน (Truthful Life) วิถีชีวิตของชาวอาริยชน หรือชาวบุญนิยม มีพื้นฐานอยู่บนหลักศีลธรรมทางศาสนา มีแนวทางพัฒนาไปสู่การถ่ายเท (สำรอก) ความเห็นแก่ตัวออกไปจากจิตวิญญาณ พร้อมกับการเสียสละให้แก่สังคม บุญนิยมจึงไม่เป็นศรัตรูกับทุนนิยม หรือแม้แต่ลัทธิความเชื่อใดๆ เพราะเป็นฝ่ายให้ การลดความเห็นแก่ตัวลง และการเสียสละ จะเกิดมูลค่าของ “บุญ” เป็นความสุขที่ในมิติของการให้ หรือยอมเสียเปรียบ (เสียเปรียบ แปลว่า ได้ “เสียสละ”) เป็นบุญ
3. วิถีชีวิตโลกันตะ หรือ อนาริยชน (Abysm Life) เป็นวิถีของคนที่ปฏิเสธทั้งสังคมโลกียชน และสังคมอาริยชน มีความเชื่อว่าตัวตนเป็นสิ่งสูงส่ง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น (ลัทธิฤาษี) มีวิถีชีวิตที่หมกมุ่นอยู่กับการอยู่นิ่งๆ (Non-Dynamic) เช่น นั่งสมาธิหลับตา ไม่ชอบสังคม เท่ากับปฏิเสธการสื่อสารระหว่างคนด้วยกันเอง
วิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคม 2 แบบแรก สามารถใช้แบบจำลองการสื่อสาร หรือทฤษฎีการสื่อสารที่มีอยู่ อธิบายได้ ดูเหมือนว่าภาระหน้าที่ของการสื่อสาร คือ ทำให้ฝ่ายผู้ส่งข่าวสาร กับผู้รับข่าวสารสื่อความหมายกันรู้เรื่อง เข้าใจกัน และมีปฏิสัมพันธ์กัน ก็หมดหน้าที่ ถือว่าบทบาทของการสื่อมีเพียงเท่านี้ ต่อจากนั้นผลที่เกิดขึ้นหลังมีการสื่อสารเสร็จสิ้นลง เป็นหน้าที่ของศาสตร์แขนงอื่นที่จะอธิบายต่อไป
เป็นแนวคิดที่ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะเป็นคำอธิบายในเชิงกายภาพ เหมือนกับว่า ทฤษฎีการสื่อสารได้ถูกนำไปใช้เป็นเพียงเครื่องมือ (Tooling, Implement) เนื่องจากว่า เครื่องมือจะมีสถานะเป็นอัพยากฤตธรรม หรือมีความเป็นสาธารณะ ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในทางบวกหรือทางลบก็ได้ เช่น ใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการแสวงหา หรือรักษาผลประโยชน์ (เชิงได้เปรียบ) หรือ ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสรร เสียสละ (เชิงเสียเปรียบ) เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น หรือประโยชน์สาธารณะก็ได้
แต่เนื่องจากว่า นักคิดในโลกส่วนใหญ่มีแนวคิดตามอัตภาพ (ตัวตนที่แท้จริง) ของแต่ละคน ซึ่งมีความเชื่อว่า การได้เปรียบ หรือได้มา หรือของฟรี เป็นความถูกต้อง เป็นมูลค่าที่ควรแสวงหา หรือสมควรได้รับ (ตามหลักเศรษฐศาสตร์ทุนนิยม) เรียกว่า วิถีโลกียะ หรือวิถีโลก (Worldly) ซึ่งสวนกระแสกับความคิดของนักการศาสนนิยม* ซึ่งมีความเชื่อว่า การเสียสละ หรือได้ “เสียเปรียบ” เป็นความถูกต้อง เป็นมูลค่าที่แท้และเป็นสาระของชีวิต (ตามหลักเศรษฐศาสตร์บุญนิยม หรือเศรษฐศาสตร์อาริยชน)
[*นักการศาสนานิยม แบ่งออกเป็น 2 ค่าย คือ ค่ายเทวนิยม กับค่ายอเทวนิยม ค่ายเทวนิยม ได้แก่ กลุ่มคนที่นับถือศาสนาต่างๆ ในโลก ส่วนค่ายอเทวนิยม ได้แก่กลุ่มที่นับถือศาสนาพุทธ ที่ยึดแนวทางทฤษฎีอริยมรรค มีองค์ 8 ประการ (กลุ่มที่นับถือพุทธแนวเถรวาท และแนวมหายาน จะใช้กรอบคำอธิบายที่มีนัยคล้ายกัน แต่กลุ่มที่นับถือพุทธแนว อริยะมรรค มีองค์ 8 ประการ จะใช้กรอบคำอธิบายในความหมายที่เคร่งครัดตามแนวพุทธดำรัส ดูรายละเอียดจาก สุนัย เศรษฐบุญสร้าง, อุดมการณ์ทางสังคมในพุทธศาสนา ตามแนวความคิดของสำนักสันติอโศก. (กรุงเทพฯ: บจก.ฟ้าอภัย, 2534), หน้า 92]
ดังนั้น คำอธิบายที่จะนำไปใช้กับการสื่อสารบุญนิยม จะต้องขยายขอบเขตไปในเชิงจิตภาพ ด้วย กล่าวคือ นอกจากจะใช้องค์ประกอบของการสื่อสาร กระบวนการสื่อสาร และผลของการสื่อสาร มาเป็นกรอบวิเคราะห์พฤติกรรมการสื่อสารแล้ว และจะต้องมีการเลือกสรร ผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วยว่า เป็นไปในเชิงสร้างสรร (สร้างอย่างเลือกสรร หรือเลือกสร้างสิ่งที่ไม่เป็นพิษภัยต่อจิตวิญญาณ และสุขภาวะ ของมนุษย์) หรือ สรรค์สร้าง (สร้างตามอัตราความต้องการของการบริโภค)
การสื่อสารบุญนิยม
มีกรอบความคิดในเรื่องของกระบวนการสื่อสาร ดังนี้
1. แบบจำลองการสื่อสารบุญนิยม อาศัยแนวคิดพื้นฐานของนักคิดชาวตะวันตกมาต่อยอดความคิด เพื่อจัดระเบียบหรือแนวปฏิบัติในการนำระบบการสื่อสารทั้งหมดที่มีอยู่ ไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการลดปัญหาทางสังคม และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2. ทฤษฎีแบบจำลองการสื่อสาร เป็นระบบ และเครื่องมือ ในการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ เพื่อวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน
3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มี 2 แบบ คือ ชั่วคราวหรือถาวร ขึ้นอยู่กับระดับความเชื่อและระดับคุณค่าขององค์ความรู้ นับเอาการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก หรือเชิงคุณธรรม เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการสื่อสาร
แบบจำลองการสื่อสารบุญนิยม
แบบจำลองการสื่อสารที่นำมาอธิบาย และประยุกต์ใช้ คัดเลือกมา 3 แบบ คือ
4.1 แบบจำลองการสื่อสารของลาสเวลล์ มุ่งอธิบายกระบวนการสื่อสาร ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการสื่อสาร จากคำถามที่ว่า ใคร กล่าวอะไร ผ่านช่องทางใด กับใคร ด้วยผลประการใด
การสื่อสารบุญนิยมจะให้ความสำคัญกับเนื้อหาของสาร มากกว่าองค์ประกอบอื่น โดยจะเลือกสรรเฉพาะสาระที่เป็นคุณในเชิงบวก ตามปรัชญา และอุดมการณ์ของระบบบุญนิยม เรื่องที่เป็นสาระจะถูกกล่าวถึง ส่วนเรื่องที่ไม่มีสาระจะถูกเมินเฉย ผู้ส่งสาร มักจะให้ความสำคัญกับผู้มีศีลก่อน เพราะสร้างความเลื่อมใสศรัทธาได้ดีกว่าบุคคลทั่วไป โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม ผู้รับสาร จะมีการคัดกรองก่อนว่าสมควรจะรับสารในเรื่องใด เป็นลำดับก่อนหลัง
ผลที่ได้รับ จะเน้นที่คุณค่าแก่นแท้ของคน มากกว่าปริมาณ เป็นการคัดคุณภาพของคนมากกว่าปริมาณ ตามคำขวัญของชาวอโศก ที่ถูกสลักไว้บนแท่งหินฟ้า หรือ Monolith (ตั้งอยู่ในชุมชนปฐมอโศก จ.นครปฐม) ว่า
“เน้นเนื้อ ให้เหนือกว่า มาก เน้นลาก แม้ยากกว่า แล่น เน้นจริง ให้ยิ่งกว่า แค่น เน้นแก่น ให้แน่นกว่า กว้าง”
4.2 แบบจำลองการสื่อสารของแชนนันและวีเวอร์ นำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารช่องทางการสื่อสาร Tele-communication เช่น เว็บไซต์ Mass media Communication เช่น หนังสือพิมพ์ ข่าวอโศกรายปักษ์ วารสารเราคิดอะไร ดอกหญ้า ดอกบัวน้อย แสงสูญ สารอโศก รายการวิทยุกระจายเสียง
4.3 แบบจำลองการสื่อสาร ABX นำมาประยุกต์ใช้มากที่สุด เพราะให้ความสำคัญกับ “คน” เท่าๆ กับ “ระบบ” (คน คือ A, B ระบบ คือ X) คนดี ย่อม สร้างระบบดี คนเลว ย่อมสร้างระบบเลว ระบบที่ดี จะส่งเสริมให้คนดี ทำดีได้ง่าย ในขณะเดียวกันก็จะป้องปรามให้คนเลว ทำเลวได้ยากขึ้น ในทำนองเดียวกัน ระบบเลว จะกีดกันให้คนดี ทำดียาก แต่จะส่งเสริมให้คนเลว ทำเลวได้มากขึ้น
จะสื่อสารอย่างไร เพื่อให้คนเข้าใจระบบ ตัวแทนของคน หมายถึง ผู้ส่งสาร และผู้รับสาร การสื่อสารบุญนิยม ยังคงให้ความสำคัญของนักบวช หรือผู้มีศีลเคร่งครัดกว่า เป็นผู้ส่งสาร ส่วนผู้รับสาร จะเป็นกลุ่มที่ถูกคัดเลือกว่าควรจะรับสารในเรื่องใด ตามลำดับก่อนหลัง เพื่อป้องการการสับสน และการเรียนรู้ การปฏิบัติ และการประเมินค่าจริงของแต่ละบุคคล
ตัวแทนของระบบ หมายถึง สาร (Message) ที่ถูกคัดเลือกแล้ว หรือสิ่งที่เป็นบริบททางสังคม ที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อ และความประพฤติ หรือเป็นจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิดกระบวนการทางสังคม หรือแรงผลักดันทางสังคม จากเลวไปสู่ดี จากดีไปสู่สิ่งที่ดีกว่า จากสิ่งที่ดีกว่า ไปสู่สิ่งที่ดีที่สุด จากสิ่งที่ดีที่สุด ไปสู่สิ่งที่สัมบูรณ์ นับเป็นผลสุดท้ายที่ต้องการของการสื่อสารบุญนิยม

บทสรุป
สมมุติฐานของการประยุกต์ใช้การสื่อสารบุญนิยม คือ เราสามารถลดปัญหาทางสังคมได้ดี หรือมากน้อยเพียงใด ถ้าหากมีความเข้าใจในกระบวนการสื่อสาร ปัจจัย องค์ประกอบการสื่อสาร ผลของการสื่อสาร ตลอดจนบริบททางสังคม ย่อมส่งผลให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นไปอย่างคุ้มค่า
อภิธานศัพท์
“สร้างสรร” หมายถึง การสร้างอย่างชาญฉลาด หรือการสร้างอย่างเลือกสรรแล้ว ว่าสิ่งที่สร้างนั้นมีบุญ มีคุณ มีค่า เกิดประโยชน์ ประหยัด
“อาริยะ” หมายถึง อารยะ คือความเจริญทางด้านวัตถุ รวมกับ อริยะ คือความเจริญงอกงามของจิตวิญญาณ
"บุญนิยม" หมายถึง แบบแผนหรือวิถีชีวิต ของบุคคล ชุมชน และสังคม และหมายถึง ระบบ แนวคิด หลักปฏิบัติ รูปแบบ ทั้งในด้านศาสนา การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา วัฒนธรรม ที่มีทิศทาง และเป้าหมาย จากการลด ละ กิเลส ตัณหา อัตตา ทุกระดับ ไปสู่ความมักน้อย สันโดษ ขยัน ซื่อสัตย์ เสียสละ สร้างสรรค์ โดยมีรูปธรรมที่ชัดเจน ได้แก่ เลี้ยงง่าย (สุภระ) บำรุงง่าย (สุโปสะ) มักน้อย (อัปปิจฉะ) ใจพอ สันโดษ (สันตุฎฐิ) ขัดเกลา (สัลเลขะ) มีศีลเคร่ง (ธูตะ) มีอาการที่น่าเลื่อมใส (ปสาทิกะ) ไม่สะสม (อปจยะ) ยอดขยัน (วิริยารัมภะ)
"สาธารณโภคี" หมายถึง แบบแผนหรือวิถีชีวิต การบริหารจัดการ บุคคล กลุ่ม องค์กร ให้มีคุณลักษณะพึ่งตนเองได้ สร้างสรร ขยัน อดทน ไม่เอาเปรียบใคร ตั้งใจเสียสละ จนเกิดความสามารถ และความเต็มใจในการทำงานฟรี ปลอดหนี้ ไม่มีดอกเบี้ย และเฉลี่ยทรัพย์เข้ากองบุญ เพราะเชื่อมั่นและศรัทธาว่า การได้มาคือ บาป การเสียสละคือ บุญ
ขุมทรัพย์ หมายถึง ข้อผิดพลาดที่ผู้อื่นบอก หรือชี้ ที่เรียกว่าขุมทรัพย์ เพราะมันมีค่าที่ประเมินไม่ได้ ไม่สามารถซื้อเป็นตัวเงินได้ การไปรู้ข้อบกพร่องของคนอื่น ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะในสังคมก็ปฏิบัติก้นอยู่ดาษดื่น แต่การรู้ข้อบกพร่องของตน นั้นยากกว่า ผู้ที่จะบอกข้อผิดให้เรารู้ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเขาต้องเสี่ยงกับการตำหนิ เกลียดชัง หรือไม่ใช่หน้าที่ของตนที่จะทำอย่างนั้น แม้จะจ้างด้วยเงินก็ไม่มีใครหาญกล้าไปบอก โดยเฉพาะผู้ที่มีฐานะสูงส่งทางสังคม หรือผู้มีอำนาจให้คุณให้โทษได้ ก็ยิ่งมีมูลค่าของค่าจ้างสูงไปด้วย
อุดมคติ หมายถึง สุดยอดแห่งความคิดความวาดหวังไว้
อุดมการณ์ หมายถึง สุดยอดในการกระทำเพื่อไปสู่สุดยอดแห่งความวาดหวังไว้

http://www.krirk.ac.th/faculty/Communication_arts/truexpert/@person/04/042/case/48_0422@communication.htm