วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553
“ความรู้สึกต่อภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นที่ เฮติ”
แผ่นดินไหวที่ประเทศ เฮติ
แผ่นดินไหวในเฮติ เป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรง 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของประเทศไปราว 25 กิโลเมตร (หรือ 16 ไมล์) โดยแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 16:53:09 ตามเวลาท้องถิ่น ของวันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553 หรือตรงกับเวลา 04.53 นาฬิกา ในเช้าวันพุธที่ 13 มกราคม ตามเวลาประเทศไทย แผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ความลึก 13 กิโลเมตร (8.1 ไมล์องค์กรสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา (The United States Geological Survey) ได้ตรวจสอบบันทึกและพบอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีก 14 ครั้ง ซึ่งมีความแรงอยู่ที่ประมาณ 5 - 8 ริกเตอร์ หน่วยงานกาชาดสากลได้กล่าวว่ามีคนกว่า 3 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ และมีคนเสียชีวิตกว่า 500,000 คน ในกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของเฮติ เป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด ซึ่งมีสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ถล่มเป็นซากปรักหักพังนับไม่ถ้วน ซึ่งรวมถึงทำเนียบประธานาธิบดีที่พังถล่มลงมาด้วย
ที่มา : http://tk.wikipedia.org/wiki/แผ่นดินไหวในเฮติ_พ.ศ._2533
ความรู้สึกของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นที่ เฮติ
จากการเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนี้ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากทำให้ดิฉันรู้สึกสงสารและเห็นใจชาวเฮติเป็นอย่างมาก ไม่ว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดเพราะสิ่งใดเป็นสาเหตุ จะเป็นเพราะธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยธรรมชาติเองหรือเป็นเพราะฝีมือมนุษย์ที่ทำให้ธรรมชาติพิโรธ อย่างไรก็ดี ดิฉันขอเป็นกำลังใจให้แก่ชาวเฮติทั้งหลาย
ดิฉันขออ้างอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยจงช่วยดลบันดาลให้ ชาวเฮติ จงแคล้วคลาดจาก ภัยอันตรายทั้งหลาย และขอให้ผู้ที่เข้ามาอ่าน บทความนี้ จงช่วยกันดูแลรักษาโลกของเราเพื่อประโยชน์สุขแก่ตัวมนุษย์ รวมทั้งสามัคคีช่วยเหลือเพื่อนโลกเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ด้วยค่ะ
ความเกี่ยวข้องกับประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นก็เป็นอีกประเทศ ที่มีการเกิดแผ่นดินไหวมาก เพราะเนื่องจากภูมิประเทศมีลัษณะเป็นเกาะ
ความจริงแล้วก็มีอีกหลายๆประเทศที่มีการเกิดแผ่นดินไหว อย่างไรก็ดี ทุกๆประเทศควรนับประเทศที่เคยเกิดแผ่นดินไหวอย่างประเทศญี่ปุ่นนั้นไว้เป็นอุทาหรณ์ เพื่อลดการทำลายโลก โลกนั้นอาจจะใหญ่ก็จริง ถ้าเทียบกับ ขนาดของมนุษย์แต่เมื่อเทียบกับจักวาลทั้งหมดนั้น โลกก็เป็นดาวเล็กๆเพียงดวงหนึ่ง เปราะบาง และมีวันสิ้นสุด จงดูแลรักษาโลกไว้ให้ดี
ด้วยความปรารถนาดีจาก น.ส. กรุณา สีชมภู กลุ่ม 45 เลขที่ 21
คณะศึกษาศาสตร์
สาขาการสอนภาษาญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ 21:30
วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สื่อเสียง
มาเรียนรู้เรื่อง สื่อเสียงกันนะคะ
สื่อเสียงหรือสื่อโสต คือสื่อที่ใช้หูในการสัมผัสโดยการรับฟัง เพื่อความเข้าใจ สัมผัสถึงอารมณ์หรือหรือรู้ ถึงจุดมุ่งหมายของการผลิตสื่อนั้น
จากกรวยประสบการณ์ของเดลที่มีการแบ่งสื่อออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการ ในช่วงแรกของศตวรรษที่ 20 การเรียนการสอนมีการใช้เทคโนโลยีเสียงและภาพด้วยวัสดุอุปกรณ์สื่อโสตในการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะสื่อธรรดาและ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น
แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปเสียงและเครื่องแล่นเทป ฯลฯ สือเหล่านี้นับเป็นสื่อแบบดั้งเดิมหรือเรียกว่า สื่อพื้นฐาน และหากเป็นสื่ออิเล็กทรอนกส์จะเป็นสื่อระบบ อนาล็อกในระยะต่อมาด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้มีการใช้ สื่อดิจิทัล แทนสื่อะนาล็อค
เทคโนโลยีและสื่อเสียงในการเรียนการสอน
การสื่อสารอย่างหนึ่งในการเรียนการสอนที่ผู้สอนทุกคนใช้เป็นประจำคือ การบรรยายด้วยเสียงของสอนเองเพื่อให้ผู้เรียนรับรู้เนื้อหาบทเรียน ทั้งนี้เพราะปกติเมื่อมีเสียงใดๆเกิดขึ้นคนเราจะรับเสียงนี้นทำให้อาจเพียงได้ยินเสียงแต่อาจไม่มีการฟัง การฟังจะเกิดขึ้นเมื่อมีกระบวนการของการได้ยินและความเข้าใจใจข้อมูลที่ส่งมา จณะเดียวกันถ้ามีการฟังอย่างตั้งใจจะเป็นการให้ความเอาใจใส่พิจารณาข้อมูลนั้นซึ้งจะเป็นสิ่งเร้าให้เกิดการเรียนรู้
- สื่อแอนะล็อก แทปคาสเซ็ตต์ วิทยุ และเครื่องเสียง
- สื่อดิจิทัล แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี เสียงบนอินเทอร์เน็ต และวิทยุอินเทอร์เน็ต
สื่อเสียงระบบแอนะล็อก
สื่อเสียงระบบแอนะล็อกในลักษณะวัสดุและอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันในปัจจถุบันมี 3ประเภทได้แก่ เทปคาสเซ็ตต์ วิทยุ และเครื่องเสียง
เทปคาสเซ็ตต์
เทปคาสเซ็ตต์หรือเทปตลับ เป็นสื่อเสียงที่ใช้กันมานานแล้วเพราะเป็ฯสื่อที่ใช้งานง่าย ประหยัด และค่อนข้องทนทาน
รูปแบบเทปคาสเซ็ตต์ที่นิยมใช้กันมากอย่างหนึ่งจะอยู่ในลักษณะ หนังสือเสียง โดยบันทึกเรื่องราวที่อ่านจากหนังสือหรือเรื่องเล่าบันทึกลงเทป เพื่อให้ผู้ฟังและเรียนรู้จากเรื่องนั้นๆด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังสามารถนำเทปคาสเซ็ตต์มาช้ร่วมกับสื่ออื่นโดยจัดเป็นชุดสื่อประสม เพื่อให้ผู้เรียนนำมาเรียนด้วยตนเองได้โดยสะดวก
วิทยุ
เสียงจากวิทยุเป็นสื่อดั้งเดิมอีกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ในการเรียนการสอน หากเป็นการศึกษาทางไกลจะเป็นการส่งบทเรียนไปยังผู้เรียนที่บ้านเพื่อศึกษาเพิ่มเติมประกอบกับสื่ออื่น
เครื่องเสียงเป็นอุปกรณ์ที่เป็นสื่อกลางหรือตัวผ่านในการถ่ายทอดเสียงจากคนเราหรือจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆให้มีเสียงดังเพิ่มมากขึ้นเพื่อสามารถได้ยินได้ในระยะไกล
การทำงานของเครื่องเสียง จะมีการรับ การขยาย และการส่งออกเสียงซึ่งเป็นระบบการเพิ่มกำลังความดังของเสียงเพื่อให้ผู้ฟังจำนวนมากได้ยินอย่างชัดเจนทั่วถึง เครื่องเสียงปัจจุบันอาจใช้แบบแยกส่วนการทำงานหรือรวมเป็นชุดเครื่องเสียง ได้แก่
ภาคสัญญาณเข้า เป็ฯภาคที่เปลี่ยนคลื่นเสียงธรรมชาติให้เป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียง แล้วส่งต่อไปยังภาคขยายสัญญาณ อุปกรณ์ในภาคสัญญาณเข้าได้แก่ ไมโครโฟน วิทยุ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นซีดี
ภาคขยายสัญญาณ ทำหน้าที่รับคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียงจากภาคสัญญาณเข้ามาขยายให้มีกำลังแรงมากขึ้นหรือสูงขึ้นโยไม่ผิดเฟี้ยนจากแหล่งกำเนิดเสียงอุปกรณ์ในภาคขยายสัญญาณได้แก่ เครื่องขยายเสียงประเภทต่างๆ
ภาคสัญญาณออก ทำหน้าที่รับคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียงที่ได้รับการขยายแล้วจากภาคขยายสัญญาณ แล้วเปลี่ยนเป็นคลื่นเสียงธรรมชาติโดยมีคุณลักษณะเหมือนต้นกำเหิดเสียงทุกประการ อุปกรณ์ในภาคสัญญาณออก ได้แก่ ลำโพงชนิดต่างๆ
สื่อเสียงระบบดิจิทัลที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนทั้งวัสดุและอุปกรณ์ได้แก่ แผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี เสียงจากอินเตอร์เน็ต และวิทยุอินเตอร์เน็ต
แผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี
แผ่นซีดีและแผ่นดีวีดีเป็นสื่อแสง ที่บันทึกข้อมูลได้ทุกประเภท ปกติแล้วซีดีแผ่นหนึ่งจะบันทึกเสียงตามรูปแบบไฟล์มาตราฐานนาน 74 นาที 33 วินาที่เสียงที่ได้จะมีความคมชัดมากกว่าเสียงระบบแอนาล็อก การใช้แผ่นซีดี/ดีวีดีสามารถค้นหาเพื่อเล่นเสียงตอนใดก็ได้โดยไม่ต้องเสียเวลากรอเทปเหมือนการเล่นเทป
เสียงบนอินเตอร์เน็ต
เสียงระบบดิจิทัลนอกจากบึนทึกลงแผ่นซีดี/ดีวีดีแล้ว ยังส่งผ่านไปบนอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร โดยการดาวน์โหลดคลิปเสียงและบันทึกลงฮาร์ดดิสก์หรือแผ่นซีดีเพื่อใช้ประกอบเนื้อหาบทเรียน และสามารถบันทึกเสียงผู้สอนในลักษณะการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อบรรยายเนื้อหาประกอบบนเรียนบนเว็บไซต์ได้ รวมถึงการให้ผู้เรียนดาวโหลดไฟล์เสียงการสอนและแนบไฟล์เสียงไปกับอีเมล์ส่งไปยังผู้เรียนได้เพื่อเปิดฟังในเวลาที่ต้องการ
วิทยุอินเทอร์เน็ต
เสียงระบบดิจิทัลเมื่อนำมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยี steeaming จะทำให้การดาวน์โหลดและฟังเสียงบนอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ด้วยเทคโนโลยีนี้จึงทำให้มีการจัดตั้งสถานีวิทยุบนอินเทอร์เน็ตและใช้งานในลักษณะวิทยุอินเตอร์เน็ต เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทุกประเภททั้งรายการสดและที่บันทึกไว้แล้ว ผู้ฟังวิทยุบนอินเทอร์เน็ตต้องใช้โปรแกรมเฉพาะ เช่น Window Media Player และ Realone Player ที่ดาวน์โหลดได้จากอินเตอร์เน็ต
ที่มาhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=mhajoy&month=01-2008&date=10&group=2&gblog=6
วิธีการโพสสื่อเสียงลงในบล็อกส่วนตัว
1.เข้าไปที่ http://www.ijig.com/
หรือ เว็ปไซด์ที่มี Code music online เว็ปไซด์ใดก็ได้
2. นำ Code เพลงที่ได้ใส่ลงไปในบล็อค หากต้องการสกินที่สวยงาม ให้หา Code สกินที่ต้องการ มารวมกับ Code ของเพลง
วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การผลิตสื่อการสอน
การผลิตสื่อการสอน
1. สำรวจความต้องการ การผลิตสื่อเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง จะต้องสำรวจความต้องการของผู้ใช้ ความต้องการของผู้ใช้อาจจะได้มาจากการแสดงความต้องการของผู้ใช้โดยตรง หรือจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสำรวจ
2. กำหนดเป้าหมายการผลิต เมื่อทราบความต้องการของผู้ใช้แล้ว ก็จะนำเอาความต้องการมาประเมิน จัดลำดับความสำคัญ แล้วกำหนดเป้าหมายการผลิต
3. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายย่อมมีความแตกต่างกันในด้านคุณลักษณะบางประการ ผู้ผลิตจะต้องศึกษาแนวโน้มความแตกต่างของกลุ่มในด้านต่าง ๆ
4. กำหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม การกำหนดจุดมุ่งหมายการผลิตสื่อ ควรกำหนดเป็นจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมเพื่อให้สามารถตรวจสอบผลได้
5. วิเคราะห์และจัดทำเนื้อหา โดยนำเนื้อหาที่จะผลิตสื่อมาวิเคราะห์หาความเหมาะสมในการจัดรูปแบบการนำเสนอและจัดลำดับเรื่องราว
6. เลือกประเภทสื่อที่จะผลิต เนื้อหาหนึ่ง ๆ อาจผลิตสื่อได้หลายประเภท ในการตัดสินใจว่าจะผลิตเป็นสื่อประเภทใดนั้น จะต้องนำมาพิจารณาหาความเหมาะสมอย่างรอบคอบ โดยพิจารณาองค์ประกอบเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการผลิต ลักษณะของเนื้อหา ขีดความสามารถในการผลิตของหน่วยงานผลิตหรือผู้ผลิต เป็นต้น
7. ผลิตสื่อ กระบวนการผลิตสื่อจะต้องแตกต่างกันไปตามประเภทของสื่อ เช่น สื่อประเภทเรื่องราวต่อเนื่อง ก็จะต้องจัดทำบัตรเรื่อง เขียนบท ถ่ายทำ บันทึกเสียง ถ้าเป็นสื่อประเภทวัสดุสามิติ ก็ต้องเขียนโครงร่างการออกแบบ ทำพิมพ์เขียวก่อน เป็นต้น
8. ทดลองเบื้องต้น เป็นการทดลองเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องเบื้องต้น เช่น ภาษา ขนาด สัดส่วน และคุณภาพทางเทคนิคอื่น ๆ เป็นต้น อาจทำเป็นขั้นตอนย่อย ๆ เป็นต้นว่า ทดลอง 1 คน 3 คน 6 คน
9. ทดลองภาคสนาม เป็นการนำสื่อไปทดลองกับกลุ่มผู้เรียนจริง แล้วเก็บรวบรวมข้อมูล ประสิทธิภาพของสื่อนั้น ๆ เพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ดี ก่อนการนำออกไปใช้จริง
10. การนำไปใช้และปรับปรุง การนำสื่อที่ผ่านการทดลองภาคสนามแล้วไปใช้อาจจะยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง เมื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน จึงควรแก้ไขปรับปรุงเป็นระยะ
สื่อการสอนและประเภทของสื่อการสอน
3.3.1 ความหมายของสื่อการสอน สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี สื่อที่ใช้ในการสอนนี้ อาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น - วัตถุสิ่งของตามธรรมชาติ - ปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ - วัตถุสิ่งของที่คิดประดิษฐ์หรือสร้างขึ้นสำหรับการสอน - คำพูดท่าทาง - วัสดุ และเครื่องมือสื่อสาร - กิจกรรมหรือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ
3.3.2 ประเภทของสื่อการสอน ในทางเทคโนโลยีการศึกษา สามารถจำแนกประเภท ของสื่อการสอน ได้ดังนี้
1) เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware) ได้แก่ สื่อประเภทที่ใช้กลไกทาง อิเล็กทรอนิกส์ และไฟฟ้า เช่น เครื่องฉาย เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2) วัสดุ (Software) ได้แก่ สื่อประเภทที่มีลักษณะ ดังนี้ - ใช้ควบคู่กับเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น ฟิล์ม แผ่นโปร่งใส สไลด์ เทป ฯลฯ - ใช้ตามลำพังของตนเอง เช่น กระดาษ รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก หนังสือ ฯลฯ 3) วิธีการ (Techniques or Methods) ได้แก่ กระบวนการหรือกรรมวิธี ซึ่งใน บางครั้ง อาจต้องใช้วัสดุ และเครื่องมือประกอบกัน เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ได้แก่ การแสดงละคร การเชิดหุ่น การสาธิต การศึกษานอกสถานที่ การจัดนิทรรศการ การใช้คอมพิวเตอร์ ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น
วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สื่อกราฟิก
ตัวอย่างโฆษณาที่ใช้สื่อกราฟิกในการสื่อความสามารถสินค้า
โดยมีSoftwareหลายชนิด และเครื่องมือหลากหลายมากที่จะช่วยทำให้สื่อกราฟฟิก
วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552
Microsoft Surface Computer
สะท้านวงการComputer Graphic และ Multimedia กับ Microsoft Surface Computer
Surface computer เนรมิตโต๊ะ 30 นิ้วธรรมดาให้กลายเป็นแหล่งบันเทิงของผู้ใช้ ที่สามารถสื่อสารกับข้อมูลดิจิตอลทุกชนิดผ่านการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติและยังสามารถสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล กับเครื่องมือดิจิตอลต่างๆ เช่นเพียงผู้ใช้วางกล้องและโทรศัพท์มือถือไว้บนโต๊ะเจ้าโต๊ะตัวนี้ก็จะสามารถ ถ่ายโอนข้อมูลภาพและเสียงจากกล้องดิจิตอลของคุณ ไปยังมือถือของคุณ โดยโต๊ะจะดึงภาพออกจากกล้องมาอยู่ที่หน้าจอโต๊ะโดยอัตโนมัติ แล้วคุณก็เพียงลากภาพต่างๆไปสู่มือถือของคุณ ผู้ใช้สามารถย่อขยาย เคลื่อนย้ายภาพต่างๆได้ตามต้องการเพียงปลายนิ้วสัมผัสคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ผู้บริโภคจะสามารถใช้ Surface computer นี้ได้ในโรงแรม ร้านอาหาร ห้างร้านและสถานบันเทิงต่างๆ
ลักษณะที่สำคัญของ Surface computer มีดังต่อไปนี้:Direct interaction ผู้ใช้สามารถดึงข้อมูลดิจิตอลต่างๆ โดยใช้มือสัมผัส และการเคลื่อนไหวต่างๆ โดยไม่ต้องใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด
Multi-touch Surface computer สามารถจับการสัมผัสต่างๆ พร้อมกันได้ ไม่ใช่เพียงแค่นิ้วสัมผัสในจุดๆ เดียวเหมือนtouch-screen ทั่วไป แต่สามารถตอบสนองคำสั่งโดยการสัมผัสได้มากกว่าสิบจุดพร้อมๆกันMulti-user ด้วยดีไซน์ของ Surface computer ทำให้ตอบสนองการใช้คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มได้ โดยผู้ใช้สามารถนั่งล้อมวงกัน รอบคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และยังสนุกสนานอีกด้วยObject recognition ผู้ใช้สามารถนำอุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆมาวางไว้บนโต๊ะเพื่ออ่านหรือโอนข้อมูลดิจิตอลไปยังอุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ
จากภาพข้างบนด้วยความสามารถของ Multitouch มันทำได่อย่างไร
แนวคิดแบบง่ายๆคือการฉาย Infrared ลงบนจอแล้วใช้กล้องวิดีโอจับภาพนิ้วมือของเรา
เพราะในขณะที่นิ้วมือของเราสัมผัสกับจอกล้องที่จับภาพจะเห็นเป็นจุดๆๆ
ซึ่งเราจะนำภาพที่ได้นั้นมาผ่านกระบวนการ Imageprocessing
ดังนั้นการจับภาพนิ่วหลายๆจุดจึงไม่เป็นปัญหาของเจ้าSurface Computerเครื่องนี้ได้อย่างแน่นอน
Reference : http://www.youtube.com/